เครื่องเลื่อยสายพาน (band saw) ในเบื้องต้นจะถูกนำมาใช้เลื่อยส่วนโค้งทางด้านนอกของชิ้นงาน แม้ว่าจะสามารถเลื่อยในแนวเส้นตรงได้แต่ไม่นิยมใช้กัน เนื่องจากควบคุมยากและเลื่อยวงเดือนจะทำได้ดีกว่า อย่างไรก็ตามเครื่องเลื่อยชนิดนี้ก็ไม่สามารถที่จะเลื่อยส่วนโค้งทางด้านในได้เหมือนกับเครื่องเลื่อยฉลุ หรือจะเลื่อยตัดส่วนโค้งแคบๆ ได้ เครื่องเลื่อยชนิดนี้จะให้ความปลอดภัยได้สูงกว่าเครื่องเลื่อยวงเดือน เพราะการตัดจะตั้งได้ฉากกับพื้นผิวของหน้าชิ้นงาน และชิ้นงานจะไม่เกิดการตีกลับ
เครื่องเลื่อยชนิดนี้นอกจากจะใช้ในการตัดไม้แล้ว ยังสามารถใช้ในการตัดวัสดุที่นอกเหนือไปจากไม้ได้ด้วย

 

2. ขนาด
                ขนาดของเครื่องเลื่อย จะกำหนดจากเส้นผ่านศูนย์กลางของล้อเครื่องเลื่อยเป็นเกณฑ์ ขนาดที่ใช้กันโดยทั่วไป ได้แก่ ขนาดตั้งแต่10ถึง42นิ้ว (250ถึง1065มิลลิเมตร) ใบเลื่อยกว้างตั้งแต่ 1/8ถึง1½นิ้ว (3ถึง38มิลลิเมตร) สำหรับขนาดที่นิยมใช้กันมากที่สุดกับสถานศึกษา ได้แก่ ขนาดตั้งแต่12ถึง20นิ้ว (300ถึง510มิลลิเมตร) ซึ่งสามารถตัดไม้ได้หนาถึง6นิ้ว (150มิลลิเมตร) ขนาดที่สูงกว่านี้ก็สามารถตัดไม้ได้หนากว่านี้ ความยาวของใบเลื่อยจะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องเลื่อยนั้นๆ เป็นสำคัญ ใบเลื่อยที่แคบจะเลื่อยในส่วนโค้งแคบๆ ได้ดีกว่าใบเลื่อยที่กว้าง
                ความเร็วในการตัดของเครื่องเลื่อยชนิดนี้ จะบอกเป็นระยะทางในการตัดไม้ของใบเลื่อยเป็นฟุตต่อนาที โดยทั่วไปจะเริ่มตั้งแต่3000ถึง6000ฟุตต่อนาที ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องเลื่อยเป็นสำคัญ
                ความเร็วในการตัดของเครื่องเลื่อยสามารถคำนวณได้จากสมการดังนี้
                                                                S.F.M. =
               
                เมื่อ         S.F.M. = ความเร็วในการตัดของเครื่องเลื่อย มีหน่วยเป็นฟุตต่อนาที
                                D = เส้นผ่านศูนย์กลางของล้อใบเลื่อย มีหน่วยเป็นนิ้ว
                                RPM =  ความเร็วรอบของล้ออเครื่องเลื่อย มีหน่วยเป็นรอบต่อนาที
ตัวอย่างที่1 :เครื่องเลื่อยสายพานขนาด20นิ้วหมุนด้วยความเร็ว1000รอบต่อนาที จงหาความเร็วในการตัดของเครื่องเลื่อย
วิธีทำ
                                                                S.F.M. =
                                                               
                                                                S.F.M. =
                                                                                = 5233.33ฟุตต่อนาที = 5230ฟุตต่อนาที ตอบ

3. ส่วนประกอบที่สำคัญ
3.1 ล้อใบเลื่อย
ล้อใบเลื่อย (blade wheel) มี2ล้อประกอบด้วยล้อตัวบน และล้อตัวล่าง ขอบล้อทั้งสองจะหุ้มด้วยแถบยางไปโดยรอบเพื่อป้องกันมิให้ใบเลื่อยเกิดการลื่นไถลออกนอกแนว และเพื่อป้องกันมิให้ใบเลื่อยเกิดความเสียหาย ใช้ทำหน้าที่รองรับใบเลื่อย
ล้อตัวบนสามารถปรับขึ้น-ลงได้เพื่อให้สามารถปรับความตึงของใบเลื่อยและเปลี่ยนใบเลื่อยได้ ล้อตัวล่างจะเป็นตัวขับให้ใบเลื่อยหมุน ล้อตัวนี้จะได้รับกำลังขับมาจากมอเตอร์

                3.2 มอเตอร์
มอเตอร์ (motor) เป็นส่วนที่ใช้ในการขับล้อใบเลื่อยตัวล่างเพื่อให้ใบเลื่อยหมุนทำงาน การถ่ายทอดกำลังขับจะถ่ายทอดด้วยสายพานรูปตัววี กำลังของมอเตอร์จะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องเลื่อยสายพาน

                3.3 ฝาครอบป้องกันอันตราย
ฝาครอบป้องกันอันตรายจากใบเลื่อยจะประกอบด้วยฝาครอบล้อตัวบน (upper wheel guard) ฝาครอบล้อตัวล่าง (lower wheel guard) ฝาครอบใบเลื่อยด้านหลัง (rear blade guard) และฝาครอบใบเลื่อยด้านหน้าซึ่งฝาครอบใบเลื่อยส่วนนี้จะเป็นแบบที่ปรับเลื่อนได้ (sliding blade guard) ใช้สำหรับป้องกันอันตรายจากใบเลื่อยในขณะที่ทำงาน

                3.4 แท่นเลื่อย
แท่นเลื่อย (table) เป็นส่วนที่ใช้รองรับชิ้นงานในการตัดหรือซอย แท่นเลื่อยอาจจะเป็นแบบแท่นเที่ยวหรือแท่นคู่ก็ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่อง เครื่องเลื่อยขนาดเล็กจะมีแท่นเลื่อยเพียงแท่นเดียวสามารถปรับเอียงไปทางซ้ายหรือทางขวาได้ถึง45องศา แต่ก็มีบางเครื่องที่ปรับเอียงไปทางซ้ายได้เพียง10องศา เครื่องเลื่อยขนาดใหญ่จะมี2แท่น โดยแท่นที่อยู่ทางด้านซ้ายจะยึดแน่นอยู่กับโครงเครื่องไม่สามารถปรับตั้งได้ ส่วนแท่นที่อยู่ทางด้านขวา สามารถที่จะปรับเอียงไปทางด้านขวาได้ถึง45องศา และเอียงไปทางด้านซ้ายได้10องศา ที่ศูนย์กลางแท่นจะมีช่องสำหรับการติดตั้งใบเลื่อย ที่ช่องนี้จะมีแผ่นสอดแท่นเลื่อยที่ใช้ปิดหลังติดตั้งใบเลื่อยเสร็จเรียบร้อยแล้ว จากศูนย์กลางแท่นจะมีการเซาะร่องไปจนถึงขอบแท่นสำหรับการติดตั้งใบเลื่อย ที่ปลายร่องจะมีหมุดปรับแนวล็อกแท่นทั้ง3ข้างเข้าด้วยกัน นอกจากนั้น ยังมีการเซาะร่องสำหรับติดตั้งเกจตัดปากกบ และรั้วซอยสำหรับการซอยอีกด้วย

                3.5สเกลบอกความเอียงแท่นเลื่อย
สเกลบอกความเอียงแท่นเลื่อย (table tilt scale) เป็นตัวเลขที่บอกระดับความเอียงของแท่นเลื่อยเป็นองศา ใช้ในการตั้งความเอียงของแท่นเลื่อยเมื่อต้องการเลื่อยเป็นมุมเอียง

3.6 เข็มชี้บอกความเอียงแท่นเลื่อย
เข็มชี้บอกความเอียงแท่นเลื่อย (tilt pointer) เป็นเข็มชี้สเกลบอกความเอียงแท่นเลื่อย ใช้แสดงความเอียงของแท่นเลื่อยเมื่อตั้งแท่นเลื่อยเป็นมุมเอียง

                3.7 ที่ยึดแท่นเลื่อย
ที่ยึดแท่นเลื่อย (table clamp) ใช้ยึดแท่นเลื่อยให้อยู่กับที่หลังตั้งแท่นเลื่อยแล้ว

                3.8 ใบเลื่อย
ใบเลื่อย (saw blade) เป็นส่วนที่ใช้ตัดแท่นงาน ใบเลื่อยจะได้รับการติดตั้งเข้ากับล้อเครื่องเลื่อย โดยการคล้องเข้ากับล้อเครื่องเลื่อยทั้งตัวบนและตัวล่าง และปรับให้อยู่ในแนวที่ถูกต้องและได้ความตึงตามกำหนด ใบเลื่อยมีหลายแบบให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับงานแต่ละประเภท

                3.9 ที่ปรับความตึงใบเลื่อย
ที่ปรับความตึงใบเลื่อย (blade tension adjustment) ใช้สำหรับปรับความตึงของใบเลื่อย ที่ปรับนี้จะอยู่ที่ล้อใบเลื่อยตัวบน

3.10 ที่ปรับแนวใบเลื่อย
ที่ปรับแนวใบเลื่อย (tracking adjustment) ใช้สำหรับปรับใบเลื่อยให้อยู่ในแนวศูนย์กลาง ปกติจะเป็นส่วนหนึ่งของที่ปรับความตึงใบเลื่อย

                3.11 แผ่นสอดแท่นเลื่อย
แผ่นสอดแท่นเลื่อย (table insert) เป็นแผ่นโลหะที่สามารถถอด-ใส่เข้าหรือออกจากแท่นเลื่อยได้ โดยจะถอดออกเพื่อการติดตั้งใบเลื่อย และใส่กลับเข้าไปหลังการติดตั้งใบเลื่อยหลังการติดตั้งใบเลื่อยเสร็จเรียบร้อยแล้ว แผ่นนี้สามารถป้องกันอันตรายจากใบเลื่อยที่หลุดออกจากล้อใบเลื่อยหรือใบเลื่อยขาดได้

                3.12 เสานำใบเลื่อย
เสานำใบเลื่อย (guide post) เป็นเสาเหล็กที่ใช้สำหรับติดตั้งตัวนำและตัวรองรับใบเลื่อย ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ในการควบคุมใบเลื่อยไม่ให้เกิดการบิดตัวและหลุดออกมาจากล้อเครื่องเลื่อยขณะป้อนชิ้นงาน เสานี้สามารถปรับเลื่อนขึ้น-ลงได้เพื่อให้เหมาะกับความหนาของชิ้นงาน

                3.13 สกรูล็อกเสานำใบเลื่อย
สกรูล็อกเสานำใบเลื่อย (guide post lock screw) เป็นสกรูที่ใช้ล็อกเสานำใบเลื่อยหลังปรับตั้งเสานำใบเลื่อยเสร็จเรียบร้อยแล้ว

                3.14 ตัวนำใบเลื่อย
ตัวนำใบเลื่อย (blade guide) เป็นส่วนที่ใช้ประกบใบเลื่อยทางด้านข้าง ใช้ทำหน้าที่ในการควบคุมใบเลื่อยไม่ให้บิดตัวขณะป้อนชิ้นงานเข้าตัดหรือซอย มีทั้งแบบแท่งสี่เหลี่ยมหรือแบบกลมแบนมี2ตัว คือตัวบนและตัวล่าง ตัวนำตัวบนจะได้รับการติดตั้งเข้ากับปลายเสานำใบเลื่อย จึงสามารถเลื่อนขึ้น-ลงได้ตามการเลื่อนขึ้น-ลงของเสานำใบเลื่อย ส่วนตัวนำตัวล่างจะติดตายอยู่ใต้แท่นเลื่อย ตัวนำใบเลื่อยควรมีการปรับทุกครั้งก่อนใช้งานโดยปรับให้ใบเลื่อยอยู่ตรงกลาง การปรับที่เบียดไปทางด้านใดด้านหนึ่งจะทำให้ตัวนำเกิดการชำรุดและใบเลื่อยจะเกิดการแกว่งตัวซึ่งจะทำให้การเลื่อยขาดความเที่ยงตรงได้

                3.15 สกรูปรับตัวนำใบเลื่อย
สกรูปรับตัวนำใบเลื่อย (blade guide adjusting screw) เป็นสกรูที่ใช้ในการปรับตัวนำใบเลื่อยให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม มี2ตัวคือ ตัวบนกับตัวล่าง

                3.16 สกรูล็อกตัวนำใบเลื่อย
สกรูล็อกตัวนำใบเลื่อย (blade guide lock screw) เป็นสกรูที่ใช้ล็อกตัวนำใบเลื่อยหลังปรับตัวนำใบเลื่อยแล้ว มี2ตัวคือ ตัวบนกับตัวล่างเช่นกัน

                3.17 ตัวรองรับใบเลื่อย
ตัวรองรับใบเลื่อย (blade support) เป็นส่วนที่ใช้รองรับใบเลื่อยทางด้านสัน ใช้ทำหน้าที่ในการควบคุมใบเลื่อยไม่ให้หลุดออกมาจากล้อเครื่องเลื่อยขณะป้อนชิ้นงานเข้าตัด ทำจากตลับลูกปืนกลมมี2ตัว คือตัวบนและตัวล่าง ตัวรองรับตัวบนจะได้รับการติดตั้งเข้ากับปลายเสานำใบเลื่อย จึงสามารถเลื่อนขึ้น-ลงได้ตามการเลื่อนขึ้น-ลงของเสานำใบเลื่อย ส่วนตัวรองรับตัวล่างจะติดตายอยู่ใต้แท่นเลื่อย ตัวรองรับใบเลื่อยควรมีการปรับทุกครั้งก่อนใช้งาน และควรทำความสะอาดและหยอดน้ำมันด้วยทุกครั้ง

                3.18 สกรูปรับตัวรองรับใบเลื่อย
สกรูปรับตัวรองรับใบเลื่อย (blade support adjusting screw) เป็นสกรูที่ใช้ในการปรับตัวรองรับใบเลื่อยให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม มี2ตัวคือ ตัวบนกับตัวล่าง

                3.19 สกรูล็อกตัวรองรับใบเลื่อย
สกรูล็อกตัวรองรับใบเลื่อย (blade support lock screw) เป็นสกรูที่ใช้ล็อกตัวรองรับใบเลื่อยหลังปรับตัวรองรับใบเลื่อยแล้ว มี2ตัวคือ ตัวบนกับตัวล่างเช่นกัน

                3.20 ร่องติดตั้งเกจตัดปากกบ
ร่องติดตั้งเกจตัดปากกบ (miter gage groove) เป็นร่องสำหรับติดตั้งเกจตัดปากกบเมื่อต้องการตัดไม้เป็นมุม

                3.21 หมุดปิดร่องผ่าแท่นเลื่อย
หมุดปิดร่องผ่าแท่นเลื่อย (alignment pin) ใช้ในการปิดร่องผ่าแท่นเลื่อยที่ใช้สำหรับถอด-ใส่ใบเลื่อย

                3.22 สวิตช์
สวิตช์ (switch) ใช้สำหรับเปิด-ปิดเพื่อควบคุมการทำงานของมอเตอร์หรือเครื่องเลื่อยสายพาน

                นอกจากนั้น ยังมีอุปกรณ์เพิ่มเติมที่ทำให้การเลื่อยมีสมรรถนะและประสิทธิภาพดีขึ้น อุปกรณ์เพิ่มเติมดังกล่าว ได้แก่ เกจตัดปากกบ (miter gage) รั้วซอย (rip fence) โคมไฟ (lamp attachment) เป็นต้น
การใช้เครื่องเลื่อยสายพานควรแต่งกายให้รัดกุม ไม่ควรใส่เสื้อแขนยาว เพราะปลายแขนเสื้ออาจเข้าไปพันกับใบเลื่อย ทำให้เกิดอันตรายได้

4. ใบเลื่อย
ใบเลื่อยที่ใช้กันโดยทั่วไปมี2แบบ ได้แก่ แบบฟันละเอียด และแบบฟันหยาบ แบบฟันละเอียดเหมาะที่จะใช้กับการตัดหรือซอยไม้บางๆ การเลื่อยส่วนโค้งหรือวงกลม ส่วนแบบฟันหยาบ จะเหมาะกับการเลื่อยไม้หนาๆ ที่มีความหนาตั้งแต่ 1½นิ้ว (38มิลลิเมตร) ขึ้นไป
ในการเลือกใช้ใบเลื่อยของเครื่องเลื่อยชนิดนี้ นอกจากจะพิจารณาความหยาบและความละเอียดของฟันเลื่อยแล้ว ความกว้าง ความหนา และความยาวของใบเลื่อยก็จะต้องนำมาพิจารณาด้วยเช่นกัน เพราะใบเลื่อยที่แคบจะใช้เลื่อยส่วนโค้งได้ดีกว่าใบเลื่อยที่กว้าง ขณะที่ใบเลื่อยที่กว้างก็จะใช้เลื่อยส่วนที่เป็นเส้นตรงได้ดีกว่าเช่นกัน ความหนาของใบเลื่อยก็มีส่วนสำคัญกับการทำงานของเครื่องเลื่อยด้วยเช่นกัน เพราะความหนาของใบเลื่อยที่ไม่สัมพันธ์กับขนาดของล้อเครื่องเลื่อยจะมีผลทำให้สมรรถนะในการทำงานของเครื่องเลื่อยลดลง ดังนั้น ในการเลือกความหนาของใบเลื่อยจึงควรทำตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต ดูตารางข้างล่าง ส่วนความยาวของใบเลื่อยก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องเลื่อย แต่กรณีที่ไม่สามารถหาซื้อขนาดตามที่ต้องการได้ ก็จะต้องซื้อในลักษณะเป็นม้วนแล้วมาตัดเท่าที่ต้องการ
ความยาวของใบเลื่อยสามารถคำนวณได้จากสมการดังนี้

                                                                L = 2H + 2¶R
เมื่อ         L = ความยาวของอใบเลื่อย มีหน่วยเป็นนิ้ว
H = ระยะระหว่างจุดศูนย์กลางของล้อเครื่องเลื่อย มีหน่วยเป็นนิ้ว
R = รัศมีของล้อเครื่องเลื่อย มีหน่วยเป็นนิ้ว
ตัวอย่างที่2 :เครื่องเลื่อยสายพานเครื่องหนึ่งของล้อเครื่องเลื่อยรัศมีเท่ากับ8นิ้ว ระยะระหว่างจุดศูนย์กลางของล้อเครื่องเลื่อยเท่ากับ36นิ้ว อยากทราบว่าจะต้องใช้ใบเลื่อยยาวเท่าใด
วิธีทำ      L = 2H + 2¶R
= 2 x 36 + 2 x 3.14 x 8
= 122.24นิ้ว = 122.25นิ้ว             ตอบ
ขนาดความหนาของใบเลื่อยที่สอดคล้องกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของล้อเครื่องเลื่อย


ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของล้อเครื่องเลื่อย
นิ้ว (มิลลิเมตร)

ขนาดของความหนาใบเลื่อยที่ควรใช้
เกจ

10-20นิ้ว (250ถึง510มิลลิเมตร)

25

24-30นิ้ว (600ถึง760มิลลิเมตร)

22

36-40นิ้ว (915ถึง1015มิลลิเมตร)

21

40ขึ้นไป (1015ขึ้นไป)

20

               
การใส่ใบเลื่อยจะต้องให้ฟันเลื่อยหันออกมาทางด้านหน้าเครื่องและฟันเลื่อยชี้ลงทางด้านล่าง หลังใส่ใบเลื่อยแล้วควรปรับความตึงและแนวศูนย์กลางของใบเลื่อยเสียก่อนพอประมาณ ใบเลื่อยจะต้องอยู่ตรงกลางระหว่างล้อของตัวนำใบเลื่อย และตัวนำใบเลื่อยก็จะต้องอยู่เหนือชิ้นงานไม่เกิน1นิ้ว (25มิลลิเมตร) จากนั้นทดลองเปิดเครื่องเพื่อดูความเรียบร้อย ถ้ายังไม่เข้าที่ให้ปรับใหม่ จากนั้นปรับแท่นเลื่อยให้ได้ตั้งฉากกับใบเลื่อย เพื่อให้รอยเลื่อยได้ฉากกับหน้าไม้ ก่อนใช้งานควรเปิดเครื่องเลื่อยให้เครื่องเดินเต็มความเร็วเสียก่อนแล้วจึงป้อนงานเข้าสู่เครื่อง การป้อนงานให้ป้อนช้าๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลื่อยส่วนโค้งหรือวงกลม การป้อนงานเร็วอาจจะทำให้ใบเลื่อยขาดได้ ถ้าใบเลื่อยขาดให้รีบปิดสวิตช์ทันทีแล้วต่อใบเลื่อยใหม่

                4.1 การปรับแต่งใบเลื่อย
ใบเลื่อยเมื่อใช้ไปนานๆ ย่อมเกิดการสึกหรอและคลองเลื่อยเสียไป ทำให้เลื่อยทื่อและฝืด สมรรถนะและประสิทธิภาพในการเลื่อยจะลดลง การปรับแต่งใบเลื่อยจึงมีความจำเป็นเพื่อให้สมรรถนะและประสิทธิภาพในการเลื่อยดีขึ้น การปรับแต่งใบเลื่อยคือการตะไบฟันและการคัดคลองเลื่อยซึ่งประกอบด้วย การปรับระดับปลายฟัน การคัดคลองเลื่อย และการตะไบฟันเลื่อย
สำหรับวิธีการตะไบฟันและคัดคลองเลื่อยของใบเลื่อยสายพาน จะเหมือนกับการตะไบฟันและคัดคลองเลื่อยของเลื่อยลันดาแบบฟันโกรกแบบเลื่อยมือ การตะไบก็จะต้องให้ได้มุมตามรูปแบบของฟันเลื่อยทุกประการ อย่างไรก็ตามนอกจากจะใช้ตะไบด้วยมือแล้วยังมีเครื่องตะไบฟันและคัดคลองเลื่อยแบบอัตโนมัติ (automatic filing and setting machine) อีกด้วย
สำหรับตะไบที่ใช้ในการตะไบใบเลื่อยแบบนี้ จะต้องเป็นตะไบแบบพิเศษที่ใช้ตะไบซี่ฟันของใบเลื่อยสายพานโดยเฉพาะ โดยด้านหนึ่งของตะไบจะโค้งมนเพื่อเข้ากับร่องของฟันเลื่อย ตะไบแบบนี้สามารถนำไปใช้กับเครื่องตะไบฟันและคัดคลองเลื่อยแบบอัตโนมัติได้ด้วยเช่นกัน
ใบเลื่อยที่ใช้กับเครื่องเลื่อยสายพานโดยทั่วไปจะเป็นใบเลื่อยแบบฟันโกรก อย่างไรก็ตาม ก็มีใบเลื่อยแบบฟันข้าม (skip tooth or butteress) ซึ่งฟันเลื่อยจะมีความคมและทนทานมากกว่าฟันเลื่อยแบบอื่นๆ เนื่องจากมีการชุบแข็งที่ฟัน แต่ใบเลื่อยแบบนี้เมื่อหมดคมแล้วจะไม่สามารถนำกลับมาตะไบฟันใช้ใหม่ได้แต่จะต้องทิ้งไป

                4.2 การเก็บใบเลื่อย
การเก็บรักษาใบเลื่อยสายพานเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก เนื่องจากใบเลื่อยมีความยาวมาก จึงกินเนื้อที่มากถ้าไม่มีวิธีการจัดเก็บที่ดี นอกจากนั้น ยังอาจทำให้เกิดอันตรายได้อีกด้วยเนื่องจากมีความคม วิธีเก็บใบเลื่อยสายพานที่ดีที่สุดคือการม้วนเก็บ เนื่องจากนอกจากจะทำให้มีความปลอดภัยแล้วยังจะทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บได้อีกด้วย
ลำดับขั้นในการม้วนเก็บเลื่อยสายพานที่ถูกต้อง มีดังนี้
1. จับใบเลื่อยตรงกลางด้วยมือทั้งสองข้างโดยให้ปลายฟันชี้ออกจากตัว ให้นิ้วชี้ทั้งสองชี้ลงทางด้านล่างไป ตามสันของใบเลื่อย ใช้เท้าข้างหนึ่งเหยียบใบเลื่อยส่วนล่างไว้กับพื้น
2. ใช้นิ้วทั้งสองข้างดันใบเลื่อยส่วนล่างให้โค้งไปข้างหน้า และปล่อยให้ส่วนบนโค้งเข้าหาตัว
3. บิดมือทั้งสองข้างเข้าหากันก็จะทำให้ส่วนล่างของใบเลื่อยม้วนตัวเข้าหากัน และส่วนบนก็จะม้วนตัวลงสู่              ด้านล่าง ยกปลายเท้าขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้สันของใบเลื่อยหมุนตัวได้
4. ไขว้ใบเลื่อยเป็นวงและปล่อยลงกับพื้นก็จะได้วงกลมเท่าๆ กัน3วง แล้วจึงนำไปเก็บ

                4.3 การต่อใบเลื่อย
ใบเลื่อยสายพานที่มีจำหน่าย จะมีทั้งแบบสำเร็จรูปตามขนาดของเครื่องเลื่อย และแบบเป็นม้วนซึ่งเมื่อจะนำมาใช้จะต้องต่อเข้าด้วยกันเสียก่อนในการต่อใบเลื่อยจะมีทั้งวิธีที่ต่อด้วยมือและวิธีต่อด้วยเครื่อง วิธีต่อด้วยมือจะต่อแบบต่อทาบ วิธีนี้ผู้ต่อจะต้องมีความชำนาญสูงมากรอยต่อจึงจะออกมาเรียบร้อยและแข็งแรงดี เพราะฉะนั้น จึงไม่แนะนำให้ทำด้วยตัวเองแต่ควรส่งให้ช่างผู้ชำนาญงานเท่านั้นที่จะทำ อีกวิธีหนึ่งก็คือวิธีต่อด้วยเครื่องวิธีนี้เป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน การต่อจะเป็นแบบต่อชน (butt joint) การต่อด้วยวิธีนี้รอยต่อจะเรียบร้อยและแข็งแรงดีมาก วิธีนี้จะใช้เครื่องเชื่อมใบเลื่อย เป็นเครื่องต่อ ซึ่งศูนย์บริการปรับแต่งและต่อใบเลื่อยจะใช้เครื่องมือชนิดนี้ในการต่อใบเลื่อย ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดและประหยัดที่สุดก็คือ การมอบให้ศูนย์บริการฯ เป็นผู้ดำเนินการในการต่อใบเลื่อยเท่านั้น

                4.4 การติดตั้งใบเลื่อย
การติดตั้งใบเลื่อยนับว่ามีความสำคัญมาก เพราะอาจได้รับอันตรายได้โดยง่ายเนื่องฟันเลื่อยมีความคม และคมเลื่อยจะยาวไปตลอดความยาวของใบเลื่อย ดังนั้น ในการติดตั้งใบเลื่อยชนิดนี้จึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างสูง
ลำดับขั้นตอนในการติดตั้งใบเลื่อยที่ถูกวิธี มีดังนี้
1. ถอดปลั๊กสายไฟออก จากนั้นถอดฝาครอบล้อเครื่องเลื่อย หมุนปิดร่องผ่าแท่นเลื่อยและแท่นสอดแท่น     เลื่อยออก
2. คลายตัวนำใบเลื่อยและส่วนประกอบทั้งตัวบนและตัวล่างออกแล้วดันไปทางด้านหลังให้พ้นจากแนว     ของล้อเครื่องเลื่อย
3. ลดความตึงของใบเลื่อยลงด้วยการคลายที่ปรับความตึงใบเลื่อยจนใบเลื่อยหย่อนตัวลง จากนั้นค่อยๆ        ถอดใบเลื่อยออกจากล้อเครื่องเลื่อยทั้งสองด้วยความระมัดระวัง
4. ค่อยๆ ลากใบเลื่อยที่ถอดออกมาแล้วผ่านร่องผ่าที่แท่นเลื่อยจนพ้นขอบของแท่นเลื่อยแล้วนำไปเก็บ
5. ทำความสะอาดแถบยางที่อยู่โดยรอบล้อเครื่องเลื่อย และนำใบเลื่อยใหม่ที่เลือกใส่เข้าไปแทนที่ ในการ    ใส่ใบเลื่อยจะต้องให้ปลายฟันชี้มาทางด้านหน้าเครื่องและชี้ลงสู่ด้านล่างเสมอ
6. ปรับความตึงของใบเลื่อยให้ได้ตามที่กำหนด ปกติเครื่องเลื่อยชนิดนี้ทุกเครื่องจะมีสเกลบอกอัตราความ  ตึงตามขนาดกว้างของใบเลื่อยไว้ ดังนั้น ให้ปรับตามที่ระบุไว้เท่านั้น
7. ปรับตัวนำใบเลื่อยทั้งสองมาข้างหน้า โดยให้ขอบทางด้านหน้าตัวนำเสมอหรือค่อนไปทางด้านหลังของ                ร่องฟันเล็กน้อย และปรับช่องว่างระหว่างใบเลื่อยกับตัวนำทั้ง2ข้างให้ห่างประมาณ1/64นิ้ว         (0.5มิลลิเมตร) ในทางปฏิบัติเวลาปรับให้สอดแผ่นกระดาษไว้ เมื่อปรับได้ที่และขันแน่นแล้วจึงดึง  กระดาษออก ในการปรับจะต้องปรับทั้งที่อยู่เหนือแท่นและใต้แท่นเลื่อย
8. ปรับตัวรองรับใบเลื่อยมาข้างหน้าให้ห่างจากสันของใบเลื่อยประมาณ1/64นิ้ว (0.5มิลลิเมตร) ในการ      ปรับจะต้องปรับทั้งที่อยู่เหนือแท่นและใต้แท่นเลื่อยด้วยเช่นกัน
9. ทดลองหมุนเครื่องเลื่อยด้วยมืออีกครั้งหนึ่งเพื่อที่จะดูว่าติดขัดอะไรอีกหรือไม่ ถ้าติดขัดก็ให้ทำการปรับ  ใหม่ แต่ถ้าไม่มีการติดขัดก็ให้นำแผ่นสอดแท่นเลื่อยและหมุนปิดร่องผ่าแท่นเลื่อยใส่กลับที่เดิม
10. ใส่ฝาครอบป้องกันอันตรายต่างๆ กลับที่เดิม
หมายเหตุ :เพื่อที่จะทดสอบการทำงานของใบเลื่อย ให้ทดลองป้อนไม้เข้าตัดในแนวเส้นตรง ถ้าพบว่าใบเลื่อยเบนไปทางด้านข้างใดข้างหนึ่ง สาเหตุอาจเกิดจากการปรับตัวนำใบเลื่อยไม่ถูกต้อง (มักเกิดจากการล็อกไม่แน่นหลังการปรับ) หรือใบเลื่อยมีคลองเลื่อยไม่ถูกต้อง ถ้าสาเหตุเกิดจากการปรับตัวนำใบเลื่อยก็ให้ปรับใหม่แล้วล็อกให้แน่น แต่ถ้าสาเหตุเกิดจากคลองเลื่อย ก็จะต้องปรับคลองเลื่อยใหม่ด้วยการใช้หินขัดแบบละเอียดทำการขัดทางด้านข้างของใบเลื่อยด้านที่ใบเลื่อยถูกดึง

5. กฎแห่งความปลอดภัย
เครื่องเลื่อยสายพานเป็นเครื่องเลื่อยที่ค่อนข้างจะปลอดภัยต่อการใช้งาน แต่ก็เป็นไปได้ที่อาจจะทำให้ผู้ใช้ได้รับอันตรายได้เช่นกัน ดังนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน จึงควรดำเนินการดังต่อไปนี้
1. การปรับตั้งเครื่องเลื่อยจะต้องกระทำในขณะที่เครื่องเลื่อยไม่ทำงานและใบเลื่อยหยุดการเคลื่อนที่ การ    ถอดปลั๊กสายไฟออกขณะทำการปรับเครื่องเลื่อยจะช่วยให้มีความปลอดภัยสูง
2. ฝาครอบป้องกันอันตรายทุกฝาจะต้องอยู่ในที่เสมอ
3. เลือกใช้ใบเลื่อยให้ถูกกับประเภทของงาน โดยเลือกใช้ใบเลื่อยที่กว้างที่สุดที่สามารถตัดส่วนโค้งที่แคบ   ที่สุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ปรับความตึงของใบเลื่อยให้ได้ตามที่กำหนด
5. เลื่อนตัวนำใบเลื่อยให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเหนือชิ้นงานเสมอ ปกติจะให้อยู่เหนือชิ้นงาน               ประมาณ1/4นิ้ว (6มิลลิเมตร) เพื่อให้แน่ใจได้ว่าการเลื่อยมีความแม่นยำ และเพื่อป้องกันใบเลื่อยบิดตัว
6. ตรวจสอบชิ้นงานที่จะเลื่อยด้วยความระมัดระวังก่อนทำการเลื่อย เพื่อให้แน่ใจได้ว่าปราศจากตะปูหรือ   สิ่งอื่นใดที่จะทำความเสียหายให้แก่ใบเลื่อยได้
7. การเลื่อยจะต้องเลื่อยนอกเส้นของแบบที่ร่างไว้เสมอเพื่อตกแต่งในภายหลัง
8. ขณะปฏิบัติงานผู้ปฏิบัติจะต้องยืนเยื้องออกไปทางด้านใดด้านหนึ่งของใบเลื่อยซึ่งจะขึ้นอยู่กับงานที่ทำ เพราะการยืนตรงด้านหน้าของใบเลื่อยอาจทำให้ได้รับอันตรายได้
9. ต้องปล่อยให้เครื่องเลื่อยเดินเต็มความเร็วเสียก่อนทุกครั้งก่อนเริ่มใช้งาน
10. ป้อนชิ้นงานช้าๆ ด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอ จะสามารถป้องกันใบเลื่อยบิดตัวและเครื่องทำงานเกินกำลัง               ได้
11. ขณะทำการเลื่อยจะต้องให้มือออกห่างจากใบเลื่อยเสมอ โดยที่นิ้วมือจะต้องห่างออกมาจากใบเลื่อยไม่  น้อยกว่า2นิ้ว (50มิลลิเมตร)
12. ขจัดเศษไม้และเศษผงจากการเลื่อยออกจากแท่นเลื่อยอย่างสม่ำเสมอ
13. ต้องแน่ใจว่าล้อเครื่องเลื่อยหยุดหมุนตามเข็มนาฬิกาเมื่อมองจากทางด้านหน้าของเครื่องเลื่อย ลูกศรที่  พูลเล่ห์ของมอเตอร์จะระบุทิศทางของการหมุน
14. จะต้องแน่ใจว่าใบเลื่อยที่ใช้คมและอยู่ในสภาพดี เสียงกริ๊กๆ ที่เกิดขึ้นขณะใช้เครื่องเลื่อยอาจเกิดจากใบ               เลื่อยร้าวก็ได้ ดังนั้น ถ้ามีเสียงดังกล่าวเกิดขึ้นให้รีบปิดสวิตช์เครื่องเลื่อยทันที แล้วตรวจสอบใบเลื่อย
15. หลังเสร็จและปิดสวิตช์เครื่องเลื่อยแล้ว ให้รอจนกว่าใบเลื่อยจะหยุดการเคลื่อนที่แล้วจึงค่อยออกจากตัว                เครื่อง

                ตารางแสดงขนาดความกว้างของใบเลื่อยและรัศมีความโค้งที่แคบที่สุดที่ใบเลื่อยสามารถตัดได้


ความกว้างของใบเลื่อย
นิ้ว (มิลลิเมตร)

เส้นผ่านศูนย์กลางที่สัั้นที่สุด
นิ้ว (มิลลิเมตร)

1/8 (3มิลลิเมตร)

1 (25มิลลิเมตร)

¼ (6มิลลิเมตร)

2 (50มิลลิเมตร)

3/8 (9มิลลิเมตร)

3 (75มิลลิเมตร)

½ (13มิลลิเมตร)

4 (100มิลลิเมตร)

¾ (19มิลลิเมตร)

6 (150มิลลิเมตร)

ข้อสังเกต :ใบเลื่อยที่จะใช้ต้องมีคลองเลื่อยที่ถูกต้อง

6. การใช้เครื่องเลื่อย
6.1 ข้อกำหนดในการใช้เครื่องเลื่อยสายพาน
ข้อกำหนดในการใช้เครื่องเลื่อยสายพานที่ถูกต้อง มีดังนี้
1. เลือกใช้ใบเลื่อยให้ถูกต้องกับประเภทของงาน โดยเลือกใช้ใบเลื่อยที่กว้างที่สุดที่สามารถตัดส่วนโค้งที่    แคบที่สุดได้ สำหรับการเลื่อยในแนวเส้นตรงและการเลื่อยโดยทั้วไป ให้ใช้ใบเลื่อยขนาดกว้าง3/8นิ้ว                (9มิลลิเมตร)
2. ปรับตัวนำใบเลื่อยตัวบนให้พ้นไปจากชิ้นงานประมาณ1/4นิ้ว (6มิลลิเมตร)
3. ยืนเยื้องออกมาทางด้านข้างด้านใดด้านหนึ่งของใบเลื่อย การยืนตรงด้านหน้าของใบเลื่อยอาจทำให้ได้รับ               อันตรายได้
4. เปิดเครื่องและรอจนเครื่องเดินเต็มความเร็วแล้วจึงป้อนชิ้นงานเข้าสู่ใบเลื่อยช้าๆ ด้วยความเร็วที่              สม่ำเสมอ
5. ในการเลื่อยให้เลื่อยนอกเส้นของแบบที่ร่างด้านที่จะตัดทิ้ง โดยคลองเลื่อยจะอยู่ทางด้านนอกขนานไป    กับแนวเส้นที่ร่างห่างประมาณ1/16นิ้ว (2มิลลิเมตร)
6. การถอยชิ้นงานกลับออกมาเมื่อเลื่อยไปจนสุดแบบร่าง ต้องทำอย่างช้าๆ และจะต้องแน่ใจว่าขณะที่ถอย ชิ้นงานออกมานั้นใบเลื่อยจะคงอยู่ในร่องเลื่อย เพราะถ้าใบเลื่อยเกิดการขัดตัวกับร่องเลื่อย ก็อาจทำให้ใบ          เลื่อยหลุดออกจากล้อเครื่องเลื่อยได้
7. ให้เลื่อยระยะที่สั้นๆ ก่อนที่จะเลื่อยระยะยาวๆ
8. ถ้าแบบที่จะเลื่อยมีส่วนโค้งแคบๆ จำนวนมาก วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ให้เลื่อยจากทางด้านนอกของแบบที่ร่าง   เข้าหาส่วนโค้งดังกล่าวแต่ละโค้งหลายๆ รอบก่อนที่จะเริ่มทำการเลื่อยตามข้อที่5
9. การเลื่อยแนวเส้นตรงสามารถใช้เกจัดปากกบหรือรั้วตัดควบคุมการทำงานก็ได้ แต่จะต้องจับชิ้นงานให้  แน่นกับเกจตัดปากกบหรือรั้วตัด

                6.2 การตัดอย่างคร่าวๆ
เนื่องจากเครื่องเลื่อยสายพานไม่มีแนวโน้มที่จะทำให้ไม้เกิดการตีกลับ ดังนั้น จึงมักถูกนำไปใช้ในการเลื่อยตัดไม้ที่ยังไม่ผ่านการปรับผิวมาก่อนให้ได้ขนาดใกล้เคียงกับที่ต้องการ สำหรับไม้ที่โค้งเว้าจะต้องดำเนินการตัดด้วยความระมัดระวัง วิธีที่ดีที่สุดคือ ให้คว่ำไม้ลงบนแท่นเลื่อยโดยให้ด้านที่โค้งอยู่ทางด้านบนก็จะช่วยให้ไม้ไม่กลิ้งไป-มาเวลาเลื่อย
ในการตัดไม้อย่างคร่าวๆ ที่ถูกต้องนั้น ก่อนอื่นให้กำหนดแนวเส้นที่จะตัดหรือซอยอย่างคร่าวๆ ด้วยชอล์ค จากนั้นปรับตัวนำใบเลื่อยให้สูงพ้นผิวไม้จุดที่สูงที่สุดประมาณ1/4นิ้ว (6มิลลิเมตร) ถ้าเป็นคนถนัดขวา ในการซอยให้ยืนออกมาทางด้านซ้ายของแนวเส้นที่จะตัด และจึงป้อนไม้ด้วยมือขวา ประคองหรือควบคุมไม้ด้วยมือซ้าย ในการป้อนไม้เข้าตัดให้ป้อนช้าๆ ด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอ ทั้งนี้อัตราการป้อนจะขึ้นอยู่กับชนิดและความหนาของไม้ที่ซอยหรือตัด ขนาดความกว้างของใบเลื่อย และความเร็วของเครื่องเลื่อย
สำหรับการตัดขวางเสี้ยนไม้อย่างคร่าวๆ นั้น ตำแหน่งในการยืนที่ดีที่สุดคือ ยืนทางด้านขวาของแนวเส้นที่จะตัด จับไม้ด้วยมือขวาและป้อนไม้เข้าตัดด้วยมือซ้าย ส่วนแนวการตัดที่ส่วนโค้งชันมากควรเจาะรูที่มุมโค้งเพื่อให้ใบเลื่อยมีอิสระในการเลื่อย

                6.3 การตัดส่วนโค้ง
วัตถุประสงค์ขั้นพื้นฐานของเครื่องเลื่อยสายพานก็คือ การตัดส่วนโค้ง ขนาดของส่วนโค้งที่ใบเลื่อยสามารถตัดได้โดยปราศจากความเครียดหรือใบเลื่อยไม่บิดตัวจะถูกกำหนดจากขนาดความกว้างของใบเลื่อยและปริมาณของคลองเลื่อย
กรณีส่วนโค้งที่ต้องตัดมีหลายขนาดในไม้ชิ้นเดียวกัน ให้ตัดไปตามส่วนโค้งขนาดใหญ่ก่อนแล้วจึงตัดส่วนโค้งขนาดเล็กในภายหลัง แต่ก่อนที่จะตัดไปตามส่วนโค้งขนาดใหญ่ จะต้องทำการเลื่อยแบ่งเบาบริเวณส่วนโค้งที่มีความชันเสียก่อน เพื่อให้ใบเลื่อยสามารถทำงานได้อย่างอิสระเมื่อต้องเลื่อยโค้งที่มีความชัน
โค้งขนาดเล็ก สามารถที่จะตัดด้วยใบเลื่อยขนาดกว้างได้ด้วยวิธี ตัดแบบสัมผัส (tangent cuts) ตัดแบบแบ่งเบา (relief cuts) และตัดแบบเล็ม (nibble cuts)

                6.4 การตัดวงกลม
การตัดวงกลม (cutting circle) ก็คล้ายๆ กับการตัดส่วนโค้ง คือจะต้องรู้ขนาดหรือรัศมีของวงกลมที่จะตัดเสียก่อนเพื่อเลือกใช้ใบเลื่อยได้อย่างถูกต้อง การตัดอาจตัดด้วยวิธีเดียวกันกับการตัดส่วนโค้งก็ได้แต่จะต้องเริ่มตัดที่ปลายเสี้ยน แล้วตัดไปตามแบบที่ร่าง กรณีงานที่มีรูปแบบและขนาดเดียวกันหลายๆ ชิ้นก็สามารถทำได้ด้วยการใช้อุปกรณ์นำตัดแบบเดือย (pivot jig) ซึ่งสามารถทำขึ้นใช้เองได้ ยึดเข้ากับแท่นเลื่อย เดือนที่อุปกรณ์นำตัดก็จะทำหน้าที่เป็นจุดหมุน ทำให้สามารถตัดชิ้นงานเป็นวงกลมได้ อุปกรณ์นำตัดแบบนี้สามารถใช้ตัดวงกลมได้ทุกขนาด

                6.5 การตัดตรง
เครื่องเลื่อยสายพานบางเครื่องจะมีอุปกรณ์บางอย่างเพิ่มเติมมาให้ อุปกรณ์ดังกล่าว ได้แก่ รั้วซอย เกจตัดปากกบ และอุปกรณ์นำตัดแบบต่างๆ ที่ใช้ในการตัดหรือซอย ในการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ก็เหมือนกับการใช้กับเครื่องเลื่อยวงเดือน ไม้ที่จะนำมาตัดก็จะต้องไสปรับผิวหน้าและขอบทางด้านข้าง ให้เรียบตรงมาก่อนอย่างน้อยอย่างละ1ด้าน  เพื่อที่หน้าไม้จะแนบสนิทกับแท่นเลื่อย และขอบไม้จะแนบชิดกับรั้วซอยและแนบกับเกจตัดปากกบ ในการตัดแบบนี้ฟันเลื่อยจะต้องคมและมีคลองเลื่อยที่เหมาะสม เพราะถ้าคลองเลื่อยไม่เหมาะสมจะทำให้ใบเลื่อยเบนออกไปจากแนวเส้นที่จะตัดทำให้ตัดได้ไม่ตรงแนว
สำหรับการควบคุมในการตัดตรงไม่ว่าจะเป็นการซอยหรือการตัดขวางเสี้ยนไม้ก็ตาม สามารถที่จะควบคุมด้วยมือเพียงอย่างเดียวก็ได้ หรือควบคุมด้วยอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้น เช่น การผ่าหรือซอยไม้ควบคุมด้วยรั้วซอย การผ่าหรือซอยไม้ตามเส้นทะแยงมุมควบคุมด้วยรั้วซอยร่วมกับการเอียงแท่นเลื่อย การซอยลบเหลี่ยมไม้เพื่อการตกแต่งหรือเพื่อนำไปกลึงควบคุมด้วยรั้วซอยและการเอียงแท่นเลื่อย การผ่าหัวไม้ตามเส้นทะแยงมุมเพื่อนำไปกลึงควบคุมด้วยรั้วซอยและอุปกรณ์นำตัดรูปตัววี (V-block jig) การตัดไม้ควบคุมด้วยเกจตัดปากกบ กรณีที่แท่นเลื่อยไม่มีร่องสำหรับติดตั้งเกจตัดปากกบ ก็จะต้องติดแท่นเสริมเข้าไปเพื่อเป็นที่สำหรับติดตั้งเกจตัดปากกบเพื่อควบคุมการตัด

                6.6 ลำดับขั้นการตัด
ลำดับขั้นการตัด เป็นลำดับขั้นตอนการทำงานหลังการร่างแบบลงบนแผ่นไม้ที่จะตัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับงานที่มีความสลับซับซ้อน ซึ่งถ้าไม่ดำเนินการในส่วนนี้ก็จะทำให้เกิดความยุ่งยากและเสียเวลามากในการตัด ลำดับขั้นการตัดเป็นการจัดลำดับเพื่อให้ง่ายต่อการทำงาน และเพื่อให้จำนวนครั้งในการตัดที่เกิดมีขึ้นน้อยที่สุด การแสดงลำดับขั้นในการตัดให้ใช้ชอล์คขีดขนานไปกับแนวเส้นที่ร่างพร้อมแสดงทิศทางการตัดด้วยลูกศรและลำดับของการตัดลงไปบนไม้ส่วนที่จะตัดทิ้ง ที่พิจารณาแล้วว่าจะทำให้ง่ายต่อการทำงานและจำนวนครั้งในการตัดเกิดขึ้นน้อยที่สุด

                6.7 การตัดแบบผสม
การตัดแบบผสม เป็นการตัดที่สัมพันธ์กันระหว่างการตัด2ครั้ง ซึ่งจะต้องตัดเป็นมุมฉากซึ่งกันและกัน ชิ้นงานที่จะตัดจะต้องมีการร่างแบบทั้งทางด้านบนและด้านข้าง แล้วจึงทำการตัดครั้งที่หนึ่งโดยตัดทางด้านข้างของชิ้นงานออกก่อน เมื่อตัดออกเสร็จแล้วให้เอาส่วนที่ตัดแปะเข้าไปที่รอยตัดเดิม อาจยึดด้วยกาวหรือใช้ตะปูเย็บก็ได้แต่จะต้องไม่อยู่ในแนวการตัด ทั้งนี้เพื่อให้เป็นส่วนรองรับการตัดทางด้านบนซึ่งจะเป็นการตัดในครั้งสุดท้าย หลังตัดเสร็จก็จะได้ชิ้นงานที่มีรูปแบบตามต้องการ
การตัดแบบผสมนี้สามารถนำไปใช้ในการตัดรูปแบบที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ เช่น การตัดขาโค้ง (cabriolet leg) ของเก้าอี้ เป็นต้น

                6.8 การตัดไม้ซ้อนกันหลายชิ้น
การตัดไม้ซ้อนกันหลายชิ้น นิยมทำกันในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเรือนเพราะเป็นการประหยัดเวลา และได้ชิ้นงานออกมาหลายชิ้นในคราวเดียวกัน ชิ้นงานที่ตัดก็มีขนาดและรูปร่างที่เท่ากัน และเหมือนกันทุกประการจึงเหมาะมากกับงานผลิตจำนวนมากๆ สำหรับวิธีการตัดไม้แบบนี้ ผู้ตัดจะต้องยึดชิ้นงานให้ติดกันเสียก่อน ซึ่งจำแนกออกได้เป็น3วิธี คือ ยึดด้วยตะปู ยึดด้วยลิ่ม และยึดด้วยกล่อง
วิธียึดด้วยตะปู :วิธีนี้จะใช้ตะปูยึดชิ้นงานเข้าด้วยกัน ตะปูที่ใช้ยึดจะต้องให้ห่างจากแนวการตัดของใบเลื่อยและอยู่ทางดด้านที่จะตัดทิ้ง
วิธียึดด้วยลิ่ม :วิธีนี้จะต้องใช้เลื่อยผ่าเข้าไปในชิ้นงานส่วนที่จะตัดทิ้งแล้วใช้ลิ่มอัดเข้าไปเพื่อยึดชิ้นงานเข้าด้วยกัน ขนาดความกว้างของลิ่มจะขึ้นอยู่กับจำนวนของชิ้นงานที่ซ้อนกัน
วิธียึดด้วยกล่อง :วิธีนี้ชิ้นงานที่จะตัดจะต้องมีขนาดเท่ากันทุกชิ้นยกเว้นความหนาอาจแตกต่างกันได้ขึ้นอยู่กับความต้องการ ตีกล่องยึด4ด้านแต่ด้านหนึ่งเว้นช่องไว้สำหรับใบเลื่อยเข้าตัด

                6.9 การเลื่อยซ้ำ
การเลื่อยซ้ำ เกิดจากกรณีเครื่องเลื่อยวงเดือนไม่สามารถซอยไม้ให้ขาดภายใน2ครั้งเนื่องหน้าไม้ที่ซอยกว้างมาก จึงจำเป็นที่จะต้องนำมาเลื่อยต่อด้วยเครื่องเลื่อยสายพาน การเลื่อยด้วยวิธีนี้อาจควบคุมชิ้นงานด้วยรั้วซอยเพียงอย่างเดียวก็ได้ หรือาจใช้ร่วมกับอุปกรณ์นำตัดที่ทำด้วยไม้หรือเหล็กช่วยควบคุมชิ้นงานก็ได้ แต่การใช้อุปกรณ์นำตัดจะช่วยให้ความหนาในการซอยให้สม่ำเสมอและตรึงชิ้นงานที่ขอบไม้ได้ดีกว่าการควบคุมชิ้นงานด้วยมือ อย่างไรก็ตาม ใบเลื่อยที่ใช้จะต้องคมและกว้างไม่น้อยกว่า1/2นิ้ว (13มิลลิเมตร) แต่จะต้องบางกว่าใบเลื่อยวงเดือนที่ใช้ซอยนำมาก่อนหน้านี้เพื่อลดปริมาณในการสูญเสียเนื้อไม้

2. ขนาด
ขนาดของเครื่องเลื่อย จะกำหนดจากเส้นผ่านศูนย์กลางของล้อเครื่องเลื่อยเป็นเกณฑ์ ขนาดที่ใช้กันโดยทั่วไป ได้แก่ ขนาดตั้งแต่10ถึง42นิ้ว (250ถึง1065มิลลิเมตร) ใบเลื่อยกว้างตั้งแต่ 1/8ถึง1½นิ้ว (3ถึง38มิลลิเมตร) สำหรับขนาดที่นิยมใช้กันมากที่สุดกับสถานศึกษา ได้แก่ ขนาดตั้งแต่12ถึง20นิ้ว (300ถึง510มิลลิเมตร) ซึ่งสามารถตัดไม้ได้หนาถึง6นิ้ว (150มิลลิเมตร) ขนาดที่สูงกว่านี้ก็สามารถตัดไม้ได้หนากว่านี้ ความยาวของใบเลื่อยจะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องเลื่อยนั้นๆ เป็นสำคัญ ใบเลื่อยที่แคบจะเลื่อยในส่วนโค้งแคบๆ ได้ดีกว่าใบเลื่อยที่กว้าง
ความเร็วในการตัดของเครื่องเลื่อยชนิดนี้ จะบอกเป็นระยะทางในการตัดไม้ของใบเลื่อยเป็นฟุตต่อนาที โดยทั่วไปจะเริ่มตั้งแต่3000ถึง6000ฟุตต่อนาที ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องเลื่อยเป็นสำคัญ
ความเร็วในการตัดของเครื่องเลื่อยสามารถคำนวณได้จากสมการดังนี้
S.F.M. =

เมื่อ         S.F.M. = ความเร็วในการตัดของเครื่องเลื่อย มีหน่วยเป็นฟุตต่อนาที
D = เส้นผ่านศูนย์กลางของล้อใบเลื่อย มีหน่วยเป็นนิ้ว
RPM =  ความเร็วรอบของล้ออเครื่องเลื่อย มีหน่วยเป็นรอบต่อนาที
ตัวอย่างที่1 :เครื่องเลื่อยสายพานขนาด20นิ้วหมุนด้วยความเร็ว1000รอบต่อนาที จงหาความเร็วในการตัดของเครื่องเลื่อย
วิธีทำ
S.F.M. =

S.F.M. =
= 5233.33ฟุตต่อนาที = 5230ฟุตต่อนาที ตอบ

3. ส่วนประกอบที่สำคัญ
3.1 ล้อใบเลื่อย
ล้อใบเลื่อย (blade wheel) มี2ล้อประกอบด้วยล้อตัวบน และล้อตัวล่าง ขอบล้อทั้งสองจะหุ้มด้วยแถบยางไปโดยรอบเพื่อป้องกันมิให้ใบเลื่อยเกิดการลื่นไถลออกนอกแนว และเพื่อป้องกันมิให้ใบเลื่อยเกิดความเสียหาย ใช้ทำหน้าที่รองรับใบเลื่อย
ล้อตัวบนสามารถปรับขึ้น-ลงได้เพื่อให้สามารถปรับความตึงของใบเลื่อยและเปลี่ยนใบเลื่อยได้ ล้อตัวล่างจะเป็นตัวขับให้ใบเลื่อยหมุน ล้อตัวนี้จะได้รับกำลังขับมาจากมอเตอร์

                3.2 มอเตอร์
มอเตอร์ (motor) เป็นส่วนที่ใช้ในการขับล้อใบเลื่อยตัวล่างเพื่อให้ใบเลื่อยหมุนทำงาน การถ่ายทอดกำลังขับจะถ่ายทอดด้วยสายพานรูปตัววี กำลังของมอเตอร์จะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องเลื่อยสายพาน

                3.3 ฝาครอบป้องกันอันตราย
ฝาครอบป้องกันอันตรายจากใบเลื่อยจะประกอบด้วยฝาครอบล้อตัวบน (upper wheel guard) ฝาครอบล้อตัวล่าง (lower wheel guard) ฝาครอบใบเลื่อยด้านหลัง (rear blade guard) และฝาครอบใบเลื่อยด้านหน้าซึ่งฝาครอบใบเลื่อยส่วนนี้จะเป็นแบบที่ปรับเลื่อนได้ (sliding blade guard) ใช้สำหรับป้องกันอันตรายจากใบเลื่อยในขณะที่ทำงาน

                3.4 แท่นเลื่อย
แท่นเลื่อย (table) เป็นส่วนที่ใช้รองรับชิ้นงานในการตัดหรือซอย แท่นเลื่อยอาจจะเป็นแบบแท่นเที่ยวหรือแท่นคู่ก็ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่อง เครื่องเลื่อยขนาดเล็กจะมีแท่นเลื่อยเพียงแท่นเดียวสามารถปรับเอียงไปทางซ้ายหรือทางขวาได้ถึง45องศา แต่ก็มีบางเครื่องที่ปรับเอียงไปทางซ้ายได้เพียง10องศา เครื่องเลื่อยขนาดใหญ่จะมี2แท่น โดยแท่นที่อยู่ทางด้านซ้ายจะยึดแน่นอยู่กับโครงเครื่องไม่สามารถปรับตั้งได้ ส่วนแท่นที่อยู่ทางด้านขวา สามารถที่จะปรับเอียงไปทางด้านขวาได้ถึง45องศา และเอียงไปทางด้านซ้ายได้10องศา ที่ศูนย์กลางแท่นจะมีช่องสำหรับการติดตั้งใบเลื่อย ที่ช่องนี้จะมีแผ่นสอดแท่นเลื่อยที่ใช้ปิดหลังติดตั้งใบเลื่อยเสร็จเรียบร้อยแล้ว จากศูนย์กลางแท่นจะมีการเซาะร่องไปจนถึงขอบแท่นสำหรับการติดตั้งใบเลื่อย ที่ปลายร่องจะมีหมุดปรับแนวล็อกแท่นทั้ง3ข้างเข้าด้วยกัน นอกจากนั้น ยังมีการเซาะร่องสำหรับติดตั้งเกจตัดปากกบ และรั้วซอยสำหรับการซอยอีกด้วย

                3.5สเกลบอกความเอียงแท่นเลื่อย
สเกลบอกความเอียงแท่นเลื่อย (table tilt scale) เป็นตัวเลขที่บอกระดับความเอียงของแท่นเลื่อยเป็นองศา ใช้ในการตั้งความเอียงของแท่นเลื่อยเมื่อต้องการเลื่อยเป็นมุมเอียง

3.6 เข็มชี้บอกความเอียงแท่นเลื่อย
เข็มชี้บอกความเอียงแท่นเลื่อย (tilt pointer) เป็นเข็มชี้สเกลบอกความเอียงแท่นเลื่อย ใช้แสดงความเอียงของแท่นเลื่อยเมื่อตั้งแท่นเลื่อยเป็นมุมเอียง

                3.7 ที่ยึดแท่นเลื่อย
ที่ยึดแท่นเลื่อย (table clamp) ใช้ยึดแท่นเลื่อยให้อยู่กับที่หลังตั้งแท่นเลื่อยแล้ว

                3.8 ใบเลื่อย
ใบเลื่อย (saw blade) เป็นส่วนที่ใช้ตัดแท่นงาน ใบเลื่อยจะได้รับการติดตั้งเข้ากับล้อเครื่องเลื่อย โดยการคล้องเข้ากับล้อเครื่องเลื่อยทั้งตัวบนและตัวล่าง และปรับให้อยู่ในแนวที่ถูกต้องและได้ความตึงตามกำหนด ใบเลื่อยมีหลายแบบให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับงานแต่ละประเภท

                3.9 ที่ปรับความตึงใบเลื่อย
ที่ปรับความตึงใบเลื่อย (blade tension adjustment) ใช้สำหรับปรับความตึงของใบเลื่อย ที่ปรับนี้จะอยู่ที่ล้อใบเลื่อยตัวบน

3.10 ที่ปรับแนวใบเลื่อย
ที่ปรับแนวใบเลื่อย (tracking adjustment) ใช้สำหรับปรับใบเลื่อยให้อยู่ในแนวศูนย์กลาง ปกติจะเป็นส่วนหนึ่งของที่ปรับความตึงใบเลื่อย

                3.11 แผ่นสอดแท่นเลื่อย
แผ่นสอดแท่นเลื่อย (table insert) เป็นแผ่นโลหะที่สามารถถอด-ใส่เข้าหรือออกจากแท่นเลื่อยได้ โดยจะถอดออกเพื่อการติดตั้งใบเลื่อย และใส่กลับเข้าไปหลังการติดตั้งใบเลื่อยหลังการติดตั้งใบเลื่อยเสร็จเรียบร้อยแล้ว แผ่นนี้สามารถป้องกันอันตรายจากใบเลื่อยที่หลุดออกจากล้อใบเลื่อยหรือใบเลื่อยขาดได้

                3.12 เสานำใบเลื่อย
เสานำใบเลื่อย (guide post) เป็นเสาเหล็กที่ใช้สำหรับติดตั้งตัวนำและตัวรองรับใบเลื่อย ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ในการควบคุมใบเลื่อยไม่ให้เกิดการบิดตัวและหลุดออกมาจากล้อเครื่องเลื่อยขณะป้อนชิ้นงาน เสานี้สามารถปรับเลื่อนขึ้น-ลงได้เพื่อให้เหมาะกับความหนาของชิ้นงาน

                3.13 สกรูล็อกเสานำใบเลื่อย
สกรูล็อกเสานำใบเลื่อย (guide post lock screw) เป็นสกรูที่ใช้ล็อกเสานำใบเลื่อยหลังปรับตั้งเสานำใบเลื่อยเสร็จเรียบร้อยแล้ว

                3.14 ตัวนำใบเลื่อย
ตัวนำใบเลื่อย (blade guide) เป็นส่วนที่ใช้ประกบใบเลื่อยทางด้านข้าง ใช้ทำหน้าที่ในการควบคุมใบเลื่อยไม่ให้บิดตัวขณะป้อนชิ้นงานเข้าตัดหรือซอย มีทั้งแบบแท่งสี่เหลี่ยมหรือแบบกลมแบนมี2ตัว คือตัวบนและตัวล่าง ตัวนำตัวบนจะได้รับการติดตั้งเข้ากับปลายเสานำใบเลื่อย จึงสามารถเลื่อนขึ้น-ลงได้ตามการเลื่อนขึ้น-ลงของเสานำใบเลื่อย ส่วนตัวนำตัวล่างจะติดตายอยู่ใต้แท่นเลื่อย ตัวนำใบเลื่อยควรมีการปรับทุกครั้งก่อนใช้งานโดยปรับให้ใบเลื่อยอยู่ตรงกลาง การปรับที่เบียดไปทางด้านใดด้านหนึ่งจะทำให้ตัวนำเกิดการชำรุดและใบเลื่อยจะเกิดการแกว่งตัวซึ่งจะทำให้การเลื่อยขาดความเที่ยงตรงได้

                3.15 สกรูปรับตัวนำใบเลื่อย
สกรูปรับตัวนำใบเลื่อย (blade guide adjusting screw) เป็นสกรูที่ใช้ในการปรับตัวนำใบเลื่อยให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม มี2ตัวคือ ตัวบนกับตัวล่าง

                3.16 สกรูล็อกตัวนำใบเลื่อย
สกรูล็อกตัวนำใบเลื่อย (blade guide lock screw) เป็นสกรูที่ใช้ล็อกตัวนำใบเลื่อยหลังปรับตัวนำใบเลื่อยแล้ว มี2ตัวคือ ตัวบนกับตัวล่างเช่นกัน

                3.17 ตัวรองรับใบเลื่อย
ตัวรองรับใบเลื่อย (blade support) เป็นส่วนที่ใช้รองรับใบเลื่อยทางด้านสัน ใช้ทำหน้าที่ในการควบคุมใบเลื่อยไม่ให้หลุดออกมาจากล้อเครื่องเลื่อยขณะป้อนชิ้นงานเข้าตัด ทำจากตลับลูกปืนกลมมี2ตัว คือตัวบนและตัวล่าง ตัวรองรับตัวบนจะได้รับการติดตั้งเข้ากับปลายเสานำใบเลื่อย จึงสามารถเลื่อนขึ้น-ลงได้ตามการเลื่อนขึ้น-ลงของเสานำใบเลื่อย ส่วนตัวรองรับตัวล่างจะติดตายอยู่ใต้แท่นเลื่อย ตัวรองรับใบเลื่อยควรมีการปรับทุกครั้งก่อนใช้งาน และควรทำความสะอาดและหยอดน้ำมันด้วยทุกครั้ง

                3.18 สกรูปรับตัวรองรับใบเลื่อย
สกรูปรับตัวรองรับใบเลื่อย (blade support adjusting screw) เป็นสกรูที่ใช้ในการปรับตัวรองรับใบเลื่อยให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม มี2ตัวคือ ตัวบนกับตัวล่าง

                3.19 สกรูล็อกตัวรองรับใบเลื่อย
สกรูล็อกตัวรองรับใบเลื่อย (blade support lock screw) เป็นสกรูที่ใช้ล็อกตัวรองรับใบเลื่อยหลังปรับตัวรองรับใบเลื่อยแล้ว มี2ตัวคือ ตัวบนกับตัวล่างเช่นกัน

                3.20 ร่องติดตั้งเกจตัดปากกบ
ร่องติดตั้งเกจตัดปากกบ (miter gage groove) เป็นร่องสำหรับติดตั้งเกจตัดปากกบเมื่อต้องการตัดไม้เป็นมุม

                3.21 หมุดปิดร่องผ่าแท่นเลื่อย
หมุดปิดร่องผ่าแท่นเลื่อย (alignment pin) ใช้ในการปิดร่องผ่าแท่นเลื่อยที่ใช้สำหรับถอด-ใส่ใบเลื่อย

                3.22 สวิตช์
สวิตช์ (switch) ใช้สำหรับเปิด-ปิดเพื่อควบคุมการทำงานของมอเตอร์หรือเครื่องเลื่อยสายพาน

                นอกจากนั้น ยังมีอุปกรณ์เพิ่มเติมที่ทำให้การเลื่อยมีสมรรถนะและประสิทธิภาพดีขึ้น อุปกรณ์เพิ่มเติมดังกล่าว ได้แก่ เกจตัดปากกบ (miter gage) รั้วซอย (rip fence) โคมไฟ (lamp attachment) เป็นต้น
การใช้เครื่องเลื่อยสายพานควรแต่งกายให้รัดกุม ไม่ควรใส่เสื้อแขนยาว เพราะปลายแขนเสื้ออาจเข้าไปพันกับใบเลื่อย ทำให้เกิดอันตรายได้

4. ใบเลื่อย
ใบเลื่อยที่ใช้กันโดยทั่วไปมี2แบบ ได้แก่ แบบฟันละเอียด และแบบฟันหยาบ แบบฟันละเอียดเหมาะที่จะใช้กับการตัดหรือซอยไม้บางๆ การเลื่อยส่วนโค้งหรือวงกลม ส่วนแบบฟันหยาบ จะเหมาะกับการเลื่อยไม้หนาๆ ที่มีความหนาตั้งแต่ 1½นิ้ว (38มิลลิเมตร) ขึ้นไป
ในการเลือกใช้ใบเลื่อยของเครื่องเลื่อยชนิดนี้ นอกจากจะพิจารณาความหยาบและความละเอียดของฟันเลื่อยแล้ว ความกว้าง ความหนา และความยาวของใบเลื่อยก็จะต้องนำมาพิจารณาด้วยเช่นกัน เพราะใบเลื่อยที่แคบจะใช้เลื่อยส่วนโค้งได้ดีกว่าใบเลื่อยที่กว้าง ขณะที่ใบเลื่อยที่กว้างก็จะใช้เลื่อยส่วนที่เป็นเส้นตรงได้ดีกว่าเช่นกัน ความหนาของใบเลื่อยก็มีส่วนสำคัญกับการทำงานของเครื่องเลื่อยด้วยเช่นกัน เพราะความหนาของใบเลื่อยที่ไม่สัมพันธ์กับขนาดของล้อเครื่องเลื่อยจะมีผลทำให้สมรรถนะในการทำงานของเครื่องเลื่อยลดลง ดังนั้น ในการเลือกความหนาของใบเลื่อยจึงควรทำตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต ดูตารางข้างล่าง ส่วนความยาวของใบเลื่อยก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องเลื่อย แต่กรณีที่ไม่สามารถหาซื้อขนาดตามที่ต้องการได้ ก็จะต้องซื้อในลักษณะเป็นม้วนแล้วมาตัดเท่าที่ต้องการ
ความยาวของใบเลื่อยสามารถคำนวณได้จากสมการดังนี้

                                                                L = 2H + 2¶R
เมื่อ         L = ความยาวของอใบเลื่อย มีหน่วยเป็นนิ้ว
H = ระยะระหว่างจุดศูนย์กลางของล้อเครื่องเลื่อย มีหน่วยเป็นนิ้ว
R = รัศมีของล้อเครื่องเลื่อย มีหน่วยเป็นนิ้ว
ตัวอย่างที่2 :เครื่องเลื่อยสายพานเครื่องหนึ่งของล้อเครื่องเลื่อยรัศมีเท่ากับ8นิ้ว ระยะระหว่างจุดศูนย์กลางของล้อเครื่องเลื่อยเท่ากับ36นิ้ว อยากทราบว่าจะต้องใช้ใบเลื่อยยาวเท่าใด
วิธีทำ      L = 2H + 2¶R
= 2 x 36 + 2 x 3.14 x 8
= 122.24นิ้ว = 122.25นิ้ว             ตอบ
ขนาดความหนาของใบเลื่อยที่สอดคล้องกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของล้อเครื่องเลื่อย


ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของล้อเครื่องเลื่อย
นิ้ว (มิลลิเมตร)

ขนาดของความหนาใบเลื่อยที่ควรใช้
เกจ

10-20นิ้ว (250ถึง510มิลลิเมตร)

25

24-30นิ้ว (600ถึง760มิลลิเมตร)

22

36-40นิ้ว (915ถึง1015มิลลิเมตร)

21

40ขึ้นไป (1015ขึ้นไป)

20

               
การใส่ใบเลื่อยจะต้องให้ฟันเลื่อยหันออกมาทางด้านหน้าเครื่องและฟันเลื่อยชี้ลงทางด้านล่าง หลังใส่ใบเลื่อยแล้วควรปรับความตึงและแนวศูนย์กลางของใบเลื่อยเสียก่อนพอประมาณ ใบเลื่อยจะต้องอยู่ตรงกลางระหว่างล้อของตัวนำใบเลื่อย และตัวนำใบเลื่อยก็จะต้องอยู่เหนือชิ้นงานไม่เกิน1นิ้ว (25มิลลิเมตร) จากนั้นทดลองเปิดเครื่องเพื่อดูความเรียบร้อย ถ้ายังไม่เข้าที่ให้ปรับใหม่ จากนั้นปรับแท่นเลื่อยให้ได้ตั้งฉากกับใบเลื่อย เพื่อให้รอยเลื่อยได้ฉากกับหน้าไม้ ก่อนใช้งานควรเปิดเครื่องเลื่อยให้เครื่องเดินเต็มความเร็วเสียก่อนแล้วจึงป้อนงานเข้าสู่เครื่อง การป้อนงานให้ป้อนช้าๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลื่อยส่วนโค้งหรือวงกลม การป้อนงานเร็วอาจจะทำให้ใบเลื่อยขาดได้ ถ้าใบเลื่อยขาดให้รีบปิดสวิตช์ทันทีแล้วต่อใบเลื่อยใหม่

                4.1 การปรับแต่งใบเลื่อย
ใบเลื่อยเมื่อใช้ไปนานๆ ย่อมเกิดการสึกหรอและคลองเลื่อยเสียไป ทำให้เลื่อยทื่อและฝืด สมรรถนะและประสิทธิภาพในการเลื่อยจะลดลง การปรับแต่งใบเลื่อยจึงมีความจำเป็นเพื่อให้สมรรถนะและประสิทธิภาพในการเลื่อยดีขึ้น การปรับแต่งใบเลื่อยคือการตะไบฟันและการคัดคลองเลื่อยซึ่งประกอบด้วย การปรับระดับปลายฟัน การคัดคลองเลื่อย และการตะไบฟันเลื่อย
สำหรับวิธีการตะไบฟันและคัดคลองเลื่อยของใบเลื่อยสายพาน จะเหมือนกับการตะไบฟันและคัดคลองเลื่อยของเลื่อยลันดาแบบฟันโกรกแบบเลื่อยมือ การตะไบก็จะต้องให้ได้มุมตามรูปแบบของฟันเลื่อยทุกประการ อย่างไรก็ตามนอกจากจะใช้ตะไบด้วยมือแล้วยังมีเครื่องตะไบฟันและคัดคลองเลื่อยแบบอัตโนมัติ (automatic filing and setting machine) อีกด้วย
สำหรับตะไบที่ใช้ในการตะไบใบเลื่อยแบบนี้ จะต้องเป็นตะไบแบบพิเศษที่ใช้ตะไบซี่ฟันของใบเลื่อยสายพานโดยเฉพาะ โดยด้านหนึ่งของตะไบจะโค้งมนเพื่อเข้ากับร่องของฟันเลื่อย ตะไบแบบนี้สามารถนำไปใช้กับเครื่องตะไบฟันและคัดคลองเลื่อยแบบอัตโนมัติได้ด้วยเช่นกัน
ใบเลื่อยที่ใช้กับเครื่องเลื่อยสายพานโดยทั่วไปจะเป็นใบเลื่อยแบบฟันโกรก อย่างไรก็ตาม ก็มีใบเลื่อยแบบฟันข้าม (skip tooth or butteress) ซึ่งฟันเลื่อยจะมีความคมและทนทานมากกว่าฟันเลื่อยแบบอื่นๆ เนื่องจากมีการชุบแข็งที่ฟัน แต่ใบเลื่อยแบบนี้เมื่อหมดคมแล้วจะไม่สามารถนำกลับมาตะไบฟันใช้ใหม่ได้แต่จะต้องทิ้งไป

                4.2 การเก็บใบเลื่อย
การเก็บรักษาใบเลื่อยสายพานเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก เนื่องจากใบเลื่อยมีความยาวมาก จึงกินเนื้อที่มากถ้าไม่มีวิธีการจัดเก็บที่ดี นอกจากนั้น ยังอาจทำให้เกิดอันตรายได้อีกด้วยเนื่องจากมีความคม วิธีเก็บใบเลื่อยสายพานที่ดีที่สุดคือการม้วนเก็บ เนื่องจากนอกจากจะทำให้มีความปลอดภัยแล้วยังจะทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บได้อีกด้วย
ลำดับขั้นในการม้วนเก็บเลื่อยสายพานที่ถูกต้อง มีดังนี้
1. จับใบเลื่อยตรงกลางด้วยมือทั้งสองข้างโดยให้ปลายฟันชี้ออกจากตัว ให้นิ้วชี้ทั้งสองชี้ลงทางด้านล่างไป ตามสันของใบเลื่อย ใช้เท้าข้างหนึ่งเหยียบใบเลื่อยส่วนล่างไว้กับพื้น
2. ใช้นิ้วทั้งสองข้างดันใบเลื่อยส่วนล่างให้โค้งไปข้างหน้า และปล่อยให้ส่วนบนโค้งเข้าหาตัว
3. บิดมือทั้งสองข้างเข้าหากันก็จะทำให้ส่วนล่างของใบเลื่อยม้วนตัวเข้าหากัน และส่วนบนก็จะม้วนตัวลงสู่              ด้านล่าง ยกปลายเท้าขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้สันของใบเลื่อยหมุนตัวได้
4. ไขว้ใบเลื่อยเป็นวงและปล่อยลงกับพื้นก็จะได้วงกลมเท่าๆ กัน3วง แล้วจึงนำไปเก็บ

                4.3 การต่อใบเลื่อย
ใบเลื่อยสายพานที่มีจำหน่าย จะมีทั้งแบบสำเร็จรูปตามขนาดของเครื่องเลื่อย และแบบเป็นม้วนซึ่งเมื่อจะนำมาใช้จะต้องต่อเข้าด้วยกันเสียก่อนในการต่อใบเลื่อยจะมีทั้งวิธีที่ต่อด้วยมือและวิธีต่อด้วยเครื่อง วิธีต่อด้วยมือจะต่อแบบต่อทาบ วิธีนี้ผู้ต่อจะต้องมีความชำนาญสูงมากรอยต่อจึงจะออกมาเรียบร้อยและแข็งแรงดี เพราะฉะนั้น จึงไม่แนะนำให้ทำด้วยตัวเองแต่ควรส่งให้ช่างผู้ชำนาญงานเท่านั้นที่จะทำ อีกวิธีหนึ่งก็คือวิธีต่อด้วยเครื่องวิธีนี้เป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน การต่อจะเป็นแบบต่อชน (butt joint) การต่อด้วยวิธีนี้รอยต่อจะเรียบร้อยและแข็งแรงดีมาก วิธีนี้จะใช้เครื่องเชื่อมใบเลื่อย เป็นเครื่องต่อ ซึ่งศูนย์บริการปรับแต่งและต่อใบเลื่อยจะใช้เครื่องมือชนิดนี้ในการต่อใบเลื่อย ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดและประหยัดที่สุดก็คือ การมอบให้ศูนย์บริการฯ เป็นผู้ดำเนินการในการต่อใบเลื่อยเท่านั้น

                4.4 การติดตั้งใบเลื่อย
การติดตั้งใบเลื่อยนับว่ามีความสำคัญมาก เพราะอาจได้รับอันตรายได้โดยง่ายเนื่องฟันเลื่อยมีความคม และคมเลื่อยจะยาวไปตลอดความยาวของใบเลื่อย ดังนั้น ในการติดตั้งใบเลื่อยชนิดนี้จึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างสูง
ลำดับขั้นตอนในการติดตั้งใบเลื่อยที่ถูกวิธี มีดังนี้
1. ถอดปลั๊กสายไฟออก จากนั้นถอดฝาครอบล้อเครื่องเลื่อย หมุนปิดร่องผ่าแท่นเลื่อยและแท่นสอดแท่น     เลื่อยออก
2. คลายตัวนำใบเลื่อยและส่วนประกอบทั้งตัวบนและตัวล่างออกแล้วดันไปทางด้านหลังให้พ้นจากแนว     ของล้อเครื่องเลื่อย
3. ลดความตึงของใบเลื่อยลงด้วยการคลายที่ปรับความตึงใบเลื่อยจนใบเลื่อยหย่อนตัวลง จากนั้นค่อยๆ        ถอดใบเลื่อยออกจากล้อเครื่องเลื่อยทั้งสองด้วยความระมัดระวัง
4. ค่อยๆ ลากใบเลื่อยที่ถอดออกมาแล้วผ่านร่องผ่าที่แท่นเลื่อยจนพ้นขอบของแท่นเลื่อยแล้วนำไปเก็บ
5. ทำความสะอาดแถบยางที่อยู่โดยรอบล้อเครื่องเลื่อย และนำใบเลื่อยใหม่ที่เลือกใส่เข้าไปแทนที่ ในการ    ใส่ใบเลื่อยจะต้องให้ปลายฟันชี้มาทางด้านหน้าเครื่องและชี้ลงสู่ด้านล่างเสมอ
6. ปรับความตึงของใบเลื่อยให้ได้ตามที่กำหนด ปกติเครื่องเลื่อยชนิดนี้ทุกเครื่องจะมีสเกลบอกอัตราความ  ตึงตามขนาดกว้างของใบเลื่อยไว้ ดังนั้น ให้ปรับตามที่ระบุไว้เท่านั้น
7. ปรับตัวนำใบเลื่อยทั้งสองมาข้างหน้า โดยให้ขอบทางด้านหน้าตัวนำเสมอหรือค่อนไปทางด้านหลังของ                ร่องฟันเล็กน้อย และปรับช่องว่างระหว่างใบเลื่อยกับตัวนำทั้ง2ข้างให้ห่างประมาณ1/64นิ้ว         (0.5มิลลิเมตร) ในทางปฏิบัติเวลาปรับให้สอดแผ่นกระดาษไว้ เมื่อปรับได้ที่และขันแน่นแล้วจึงดึง  กระดาษออก ในการปรับจะต้องปรับทั้งที่อยู่เหนือแท่นและใต้แท่นเลื่อย
8. ปรับตัวรองรับใบเลื่อยมาข้างหน้าให้ห่างจากสันของใบเลื่อยประมาณ1/64นิ้ว (0.5มิลลิเมตร) ในการ      ปรับจะต้องปรับทั้งที่อยู่เหนือแท่นและใต้แท่นเลื่อยด้วยเช่นกัน
9. ทดลองหมุนเครื่องเลื่อยด้วยมืออีกครั้งหนึ่งเพื่อที่จะดูว่าติดขัดอะไรอีกหรือไม่ ถ้าติดขัดก็ให้ทำการปรับ  ใหม่ แต่ถ้าไม่มีการติดขัดก็ให้นำแผ่นสอดแท่นเลื่อยและหมุนปิดร่องผ่าแท่นเลื่อยใส่กลับที่เดิม
10. ใส่ฝาครอบป้องกันอันตรายต่างๆ กลับที่เดิม
หมายเหตุ :เพื่อที่จะทดสอบการทำงานของใบเลื่อย ให้ทดลองป้อนไม้เข้าตัดในแนวเส้นตรง ถ้าพบว่าใบเลื่อยเบนไปทางด้านข้างใดข้างหนึ่ง สาเหตุอาจเกิดจากการปรับตัวนำใบเลื่อยไม่ถูกต้อง (มักเกิดจากการล็อกไม่แน่นหลังการปรับ) หรือใบเลื่อยมีคลองเลื่อยไม่ถูกต้อง ถ้าสาเหตุเกิดจากการปรับตัวนำใบเลื่อยก็ให้ปรับใหม่แล้วล็อกให้แน่น แต่ถ้าสาเหตุเกิดจากคลองเลื่อย ก็จะต้องปรับคลองเลื่อยใหม่ด้วยการใช้หินขัดแบบละเอียดทำการขัดทางด้านข้างของใบเลื่อยด้านที่ใบเลื่อยถูกดึง

5. กฎแห่งความปลอดภัย
เครื่องเลื่อยสายพานเป็นเครื่องเลื่อยที่ค่อนข้างจะปลอดภัยต่อการใช้งาน แต่ก็เป็นไปได้ที่อาจจะทำให้ผู้ใช้ได้รับอันตรายได้เช่นกัน ดังนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน จึงควรดำเนินการดังต่อไปนี้
1. การปรับตั้งเครื่องเลื่อยจะต้องกระทำในขณะที่เครื่องเลื่อยไม่ทำงานและใบเลื่อยหยุดการเคลื่อนที่ การ    ถอดปลั๊กสายไฟออกขณะทำการปรับเครื่องเลื่อยจะช่วยให้มีความปลอดภัยสูง
2. ฝาครอบป้องกันอันตรายทุกฝาจะต้องอยู่ในที่เสมอ
3. เลือกใช้ใบเลื่อยให้ถูกกับประเภทของงาน โดยเลือกใช้ใบเลื่อยที่กว้างที่สุดที่สามารถตัดส่วนโค้งที่แคบ   ที่สุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ปรับความตึงของใบเลื่อยให้ได้ตามที่กำหนด
5. เลื่อนตัวนำใบเลื่อยให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเหนือชิ้นงานเสมอ ปกติจะให้อยู่เหนือชิ้นงาน               ประมาณ1/4นิ้ว (6มิลลิเมตร) เพื่อให้แน่ใจได้ว่าการเลื่อยมีความแม่นยำ และเพื่อป้องกันใบเลื่อยบิดตัว
6. ตรวจสอบชิ้นงานที่จะเลื่อยด้วยความระมัดระวังก่อนทำการเลื่อย เพื่อให้แน่ใจได้ว่าปราศจากตะปูหรือ   สิ่งอื่นใดที่จะทำความเสียหายให้แก่ใบเลื่อยได้
7. การเลื่อยจะต้องเลื่อยนอกเส้นของแบบที่ร่างไว้เสมอเพื่อตกแต่งในภายหลัง
8. ขณะปฏิบัติงานผู้ปฏิบัติจะต้องยืนเยื้องออกไปทางด้านใดด้านหนึ่งของใบเลื่อยซึ่งจะขึ้นอยู่กับงานที่ทำ เพราะการยืนตรงด้านหน้าของใบเลื่อยอาจทำให้ได้รับอันตรายได้
9. ต้องปล่อยให้เครื่องเลื่อยเดินเต็มความเร็วเสียก่อนทุกครั้งก่อนเริ่มใช้งาน
10. ป้อนชิ้นงานช้าๆ ด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอ จะสามารถป้องกันใบเลื่อยบิดตัวและเครื่องทำงานเกินกำลัง               ได้
11. ขณะทำการเลื่อยจะต้องให้มือออกห่างจากใบเลื่อยเสมอ โดยที่นิ้วมือจะต้องห่างออกมาจากใบเลื่อยไม่  น้อยกว่า2นิ้ว (50มิลลิเมตร)
12. ขจัดเศษไม้และเศษผงจากการเลื่อยออกจากแท่นเลื่อยอย่างสม่ำเสมอ
13. ต้องแน่ใจว่าล้อเครื่องเลื่อยหยุดหมุนตามเข็มนาฬิกาเมื่อมองจากทางด้านหน้าของเครื่องเลื่อย ลูกศรที่  พูลเล่ห์ของมอเตอร์จะระบุทิศทางของการหมุน
14. จะต้องแน่ใจว่าใบเลื่อยที่ใช้คมและอยู่ในสภาพดี เสียงกริ๊กๆ ที่เกิดขึ้นขณะใช้เครื่องเลื่อยอาจเกิดจากใบ               เลื่อยร้าวก็ได้ ดังนั้น ถ้ามีเสียงดังกล่าวเกิดขึ้นให้รีบปิดสวิตช์เครื่องเลื่อยทันที แล้วตรวจสอบใบเลื่อย
15. หลังเสร็จและปิดสวิตช์เครื่องเลื่อยแล้ว ให้รอจนกว่าใบเลื่อยจะหยุดการเคลื่อนที่แล้วจึงค่อยออกจากตัว                เครื่อง

                ตารางแสดงขนาดความกว้างของใบเลื่อยและรัศมีความโค้งที่แคบที่สุดที่ใบเลื่อยสามารถตัดได้


ความกว้างของใบเลื่อย
นิ้ว (มิลลิเมตร)

เส้นผ่านศูนย์กลางที่สัั้นที่สุด
นิ้ว (มิลลิเมตร)

1/8 (3มิลลิเมตร)

1 (25มิลลิเมตร)

¼ (6มิลลิเมตร)

2 (50มิลลิเมตร)

3/8 (9มิลลิเมตร)

3 (75มิลลิเมตร)

½ (13มิลลิเมตร)

4 (100มิลลิเมตร)

¾ (19มิลลิเมตร)

6 (150มิลลิเมตร)

ข้อสังเกต :ใบเลื่อยที่จะใช้ต้องมีคลองเลื่อยที่ถูกต้อง

6. การใช้เครื่องเลื่อย
6.1 ข้อกำหนดในการใช้เครื่องเลื่อยสายพาน
ข้อกำหนดในการใช้เครื่องเลื่อยสายพานที่ถูกต้อง มีดังนี้
1. เลือกใช้ใบเลื่อยให้ถูกต้องกับประเภทของงาน โดยเลือกใช้ใบเลื่อยที่กว้างที่สุดที่สามารถตัดส่วนโค้งที่    แคบที่สุดได้ สำหรับการเลื่อยในแนวเส้นตรงและการเลื่อยโดยทั้วไป ให้ใช้ใบเลื่อยขนาดกว้าง3/8นิ้ว                (9มิลลิเมตร)
2. ปรับตัวนำใบเลื่อยตัวบนให้พ้นไปจากชิ้นงานประมาณ1/4นิ้ว (6มิลลิเมตร)
3. ยืนเยื้องออกมาทางด้านข้างด้านใดด้านหนึ่งของใบเลื่อย การยืนตรงด้านหน้าของใบเลื่อยอาจทำให้ได้รับ               อันตรายได้
4. เปิดเครื่องและรอจนเครื่องเดินเต็มความเร็วแล้วจึงป้อนชิ้นงานเข้าสู่ใบเลื่อยช้าๆ ด้วยความเร็วที่              สม่ำเสมอ
5. ในการเลื่อยให้เลื่อยนอกเส้นของแบบที่ร่างด้านที่จะตัดทิ้ง โดยคลองเลื่อยจะอยู่ทางด้านนอกขนานไป    กับแนวเส้นที่ร่างห่างประมาณ1/16นิ้ว (2มิลลิเมตร)
6. การถอยชิ้นงานกลับออกมาเมื่อเลื่อยไปจนสุดแบบร่าง ต้องทำอย่างช้าๆ และจะต้องแน่ใจว่าขณะที่ถอย ชิ้นงานออกมานั้นใบเลื่อยจะคงอยู่ในร่องเลื่อย เพราะถ้าใบเลื่อยเกิดการขัดตัวกับร่องเลื่อย ก็อาจทำให้ใบ          เลื่อยหลุดออกจากล้อเครื่องเลื่อยได้
7. ให้เลื่อยระยะที่สั้นๆ ก่อนที่จะเลื่อยระยะยาวๆ
8. ถ้าแบบที่จะเลื่อยมีส่วนโค้งแคบๆ จำนวนมาก วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ให้เลื่อยจากทางด้านนอกของแบบที่ร่าง   เข้าหาส่วนโค้งดังกล่าวแต่ละโค้งหลายๆ รอบก่อนที่จะเริ่มทำการเลื่อยตามข้อที่5
9. การเลื่อยแนวเส้นตรงสามารถใช้เกจัดปากกบหรือรั้วตัดควบคุมการทำงานก็ได้ แต่จะต้องจับชิ้นงานให้  แน่นกับเกจตัดปากกบหรือรั้วตัด

                6.2 การตัดอย่างคร่าวๆ
เนื่องจากเครื่องเลื่อยสายพานไม่มีแนวโน้มที่จะทำให้ไม้เกิดการตีกลับ ดังนั้น จึงมักถูกนำไปใช้ในการเลื่อยตัดไม้ที่ยังไม่ผ่านการปรับผิวมาก่อนให้ได้ขนาดใกล้เคียงกับที่ต้องการ สำหรับไม้ที่โค้งเว้าจะต้องดำเนินการตัดด้วยความระมัดระวัง วิธีที่ดีที่สุดคือ ให้คว่ำไม้ลงบนแท่นเลื่อยโดยให้ด้านที่โค้งอยู่ทางด้านบนก็จะช่วยให้ไม้ไม่กลิ้งไป-มาเวลาเลื่อย
ในการตัดไม้อย่างคร่าวๆ ที่ถูกต้องนั้น ก่อนอื่นให้กำหนดแนวเส้นที่จะตัดหรือซอยอย่างคร่าวๆ ด้วยชอล์ค จากนั้นปรับตัวนำใบเลื่อยให้สูงพ้นผิวไม้จุดที่สูงที่สุดประมาณ1/4นิ้ว (6มิลลิเมตร) ถ้าเป็นคนถนัดขวา ในการซอยให้ยืนออกมาทางด้านซ้ายของแนวเส้นที่จะตัด และจึงป้อนไม้ด้วยมือขวา ประคองหรือควบคุมไม้ด้วยมือซ้าย ในการป้อนไม้เข้าตัดให้ป้อนช้าๆ ด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอ ทั้งนี้อัตราการป้อนจะขึ้นอยู่กับชนิดและความหนาของไม้ที่ซอยหรือตัด ขนาดความกว้างของใบเลื่อย และความเร็วของเครื่องเลื่อย
สำหรับการตัดขวางเสี้ยนไม้อย่างคร่าวๆ นั้น ตำแหน่งในการยืนที่ดีที่สุดคือ ยืนทางด้านขวาของแนวเส้นที่จะตัด จับไม้ด้วยมือขวาและป้อนไม้เข้าตัดด้วยมือซ้าย ส่วนแนวการตัดที่ส่วนโค้งชันมากควรเจาะรูที่มุมโค้งเพื่อให้ใบเลื่อยมีอิสระในการเลื่อย

                6.3 การตัดส่วนโค้ง
วัตถุประสงค์ขั้นพื้นฐานของเครื่องเลื่อยสายพานก็คือ การตัดส่วนโค้ง ขนาดของส่วนโค้งที่ใบเลื่อยสามารถตัดได้โดยปราศจากความเครียดหรือใบเลื่อยไม่บิดตัวจะถูกกำหนดจากขนาดความกว้างของใบเลื่อยและปริมาณของคลองเลื่อย
กรณีส่วนโค้งที่ต้องตัดมีหลายขนาดในไม้ชิ้นเดียวกัน ให้ตัดไปตามส่วนโค้งขนาดใหญ่ก่อนแล้วจึงตัดส่วนโค้งขนาดเล็กในภายหลัง แต่ก่อนที่จะตัดไปตามส่วนโค้งขนาดใหญ่ จะต้องทำการเลื่อยแบ่งเบาบริเวณส่วนโค้งที่มีความชันเสียก่อน เพื่อให้ใบเลื่อยสามารถทำงานได้อย่างอิสระเมื่อต้องเลื่อยโค้งที่มีความชัน
โค้งขนาดเล็ก สามารถที่จะตัดด้วยใบเลื่อยขนาดกว้างได้ด้วยวิธี ตัดแบบสัมผัส (tangent cuts) ตัดแบบแบ่งเบา (relief cuts) และตัดแบบเล็ม (nibble cuts)

                6.4 การตัดวงกลม
การตัดวงกลม (cutting circle) ก็คล้ายๆ กับการตัดส่วนโค้ง คือจะต้องรู้ขนาดหรือรัศมีของวงกลมที่จะตัดเสียก่อนเพื่อเลือกใช้ใบเลื่อยได้อย่างถูกต้อง การตัดอาจตัดด้วยวิธีเดียวกันกับการตัดส่วนโค้งก็ได้แต่จะต้องเริ่มตัดที่ปลายเสี้ยน แล้วตัดไปตามแบบที่ร่าง กรณีงานที่มีรูปแบบและขนาดเดียวกันหลายๆ ชิ้นก็สามารถทำได้ด้วยการใช้อุปกรณ์นำตัดแบบเดือย (pivot jig) ซึ่งสามารถทำขึ้นใช้เองได้ ยึดเข้ากับแท่นเลื่อย เดือนที่อุปกรณ์นำตัดก็จะทำหน้าที่เป็นจุดหมุน ทำให้สามารถตัดชิ้นงานเป็นวงกลมได้ อุปกรณ์นำตัดแบบนี้สามารถใช้ตัดวงกลมได้ทุกขนาด

                6.5 การตัดตรง
เครื่องเลื่อยสายพานบางเครื่องจะมีอุปกรณ์บางอย่างเพิ่มเติมมาให้ อุปกรณ์ดังกล่าว ได้แก่ รั้วซอย เกจตัดปากกบ และอุปกรณ์นำตัดแบบต่างๆ ที่ใช้ในการตัดหรือซอย ในการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ก็เหมือนกับการใช้กับเครื่องเลื่อยวงเดือน ไม้ที่จะนำมาตัดก็จะต้องไสปรับผิวหน้าและขอบทางด้านข้าง ให้เรียบตรงมาก่อนอย่างน้อยอย่างละ1ด้าน  เพื่อที่หน้าไม้จะแนบสนิทกับแท่นเลื่อย และขอบไม้จะแนบชิดกับรั้วซอยและแนบกับเกจตัดปากกบ ในการตัดแบบนี้ฟันเลื่อยจะต้องคมและมีคลองเลื่อยที่เหมาะสม เพราะถ้าคลองเลื่อยไม่เหมาะสมจะทำให้ใบเลื่อยเบนออกไปจากแนวเส้นที่จะตัดทำให้ตัดได้ไม่ตรงแนว
สำหรับการควบคุมในการตัดตรงไม่ว่าจะเป็นการซอยหรือการตัดขวางเสี้ยนไม้ก็ตาม สามารถที่จะควบคุมด้วยมือเพียงอย่างเดียวก็ได้ หรือควบคุมด้วยอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้น เช่น การผ่าหรือซอยไม้ควบคุมด้วยรั้วซอย การผ่าหรือซอยไม้ตามเส้นทะแยงมุมควบคุมด้วยรั้วซอยร่วมกับการเอียงแท่นเลื่อย การซอยลบเหลี่ยมไม้เพื่อการตกแต่งหรือเพื่อนำไปกลึงควบคุมด้วยรั้วซอยและการเอียงแท่นเลื่อย การผ่าหัวไม้ตามเส้นทะแยงมุมเพื่อนำไปกลึงควบคุมด้วยรั้วซอยและอุปกรณ์นำตัดรูปตัววี (V-block jig) การตัดไม้ควบคุมด้วยเกจตัดปากกบ กรณีที่แท่นเลื่อยไม่มีร่องสำหรับติดตั้งเกจตัดปากกบ ก็จะต้องติดแท่นเสริมเข้าไปเพื่อเป็นที่สำหรับติดตั้งเกจตัดปากกบเพื่อควบคุมการตัด

                6.6 ลำดับขั้นการตัด
ลำดับขั้นการตัด เป็นลำดับขั้นตอนการทำงานหลังการร่างแบบลงบนแผ่นไม้ที่จะตัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับงานที่มีความสลับซับซ้อน ซึ่งถ้าไม่ดำเนินการในส่วนนี้ก็จะทำให้เกิดความยุ่งยากและเสียเวลามากในการตัด ลำดับขั้นการตัดเป็นการจัดลำดับเพื่อให้ง่ายต่อการทำงาน และเพื่อให้จำนวนครั้งในการตัดที่เกิดมีขึ้นน้อยที่สุด การแสดงลำดับขั้นในการตัดให้ใช้ชอล์คขีดขนานไปกับแนวเส้นที่ร่างพร้อมแสดงทิศทางการตัดด้วยลูกศรและลำดับของการตัดลงไปบนไม้ส่วนที่จะตัดทิ้ง ที่พิจารณาแล้วว่าจะทำให้ง่ายต่อการทำงานและจำนวนครั้งในการตัดเกิดขึ้นน้อยที่สุด

                6.7 การตัดแบบผสม
การตัดแบบผสม เป็นการตัดที่สัมพันธ์กันระหว่างการตัด2ครั้ง ซึ่งจะต้องตัดเป็นมุมฉากซึ่งกันและกัน ชิ้นงานที่จะตัดจะต้องมีการร่างแบบทั้งทางด้านบนและด้านข้าง แล้วจึงทำการตัดครั้งที่หนึ่งโดยตัดทางด้านข้างของชิ้นงานออกก่อน เมื่อตัดออกเสร็จแล้วให้เอาส่วนที่ตัดแปะเข้าไปที่รอยตัดเดิม อาจยึดด้วยกาวหรือใช้ตะปูเย็บก็ได้แต่จะต้องไม่อยู่ในแนวการตัด ทั้งนี้เพื่อให้เป็นส่วนรองรับการตัดทางด้านบนซึ่งจะเป็นการตัดในครั้งสุดท้าย หลังตัดเสร็จก็จะได้ชิ้นงานที่มีรูปแบบตามต้องการ
การตัดแบบผสมนี้สามารถนำไปใช้ในการตัดรูปแบบที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ เช่น การตัดขาโค้ง (cabriolet leg) ของเก้าอี้ เป็นต้น

                6.8 การตัดไม้ซ้อนกันหลายชิ้น
การตัดไม้ซ้อนกันหลายชิ้น นิยมทำกันในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเรือนเพราะเป็นการประหยัดเวลา และได้ชิ้นงานออกมาหลายชิ้นในคราวเดียวกัน ชิ้นงานที่ตัดก็มีขนาดและรูปร่างที่เท่ากัน และเหมือนกันทุกประการจึงเหมาะมากกับงานผลิตจำนวนมากๆ สำหรับวิธีการตัดไม้แบบนี้ ผู้ตัดจะต้องยึดชิ้นงานให้ติดกันเสียก่อน ซึ่งจำแนกออกได้เป็น3วิธี คือ ยึดด้วยตะปู ยึดด้วยลิ่ม และยึดด้วยกล่อง
วิธียึดด้วยตะปู :วิธีนี้จะใช้ตะปูยึดชิ้นงานเข้าด้วยกัน ตะปูที่ใช้ยึดจะต้องให้ห่างจากแนวการตัดของใบเลื่อยและอยู่ทางดด้านที่จะตัดทิ้ง
วิธียึดด้วยลิ่ม :วิธีนี้จะต้องใช้เลื่อยผ่าเข้าไปในชิ้นงานส่วนที่จะตัดทิ้งแล้วใช้ลิ่มอัดเข้าไปเพื่อยึดชิ้นงานเข้าด้วยกัน ขนาดความกว้างของลิ่มจะขึ้นอยู่กับจำนวนของชิ้นงานที่ซ้อนกัน
วิธียึดด้วยกล่อง :วิธีนี้ชิ้นงานที่จะตัดจะต้องมีขนาดเท่ากันทุกชิ้นยกเว้นความหนาอาจแตกต่างกันได้ขึ้นอยู่กับความต้องการ ตีกล่องยึด4ด้านแต่ด้านหนึ่งเว้นช่องไว้สำหรับใบเลื่อยเข้าตัด

                6.9 การเลื่อยซ้ำ
การเลื่อยซ้ำ เกิดจากกรณีเครื่องเลื่อยวงเดือนไม่สามารถซอยไม้ให้ขาดภายใน2ครั้งเนื่องหน้าไม้ที่ซอยกว้างมาก จึงจำเป็นที่จะต้องนำมาเลื่อยต่อด้วยเครื่องเลื่อยสายพาน การเลื่อยด้วยวิธีนี้อาจควบคุมชิ้นงานด้วยรั้วซอยเพียงอย่างเดียวก็ได้ หรือาจใช้ร่วมกับอุปกรณ์นำตัดที่ทำด้วยไม้หรือเหล็กช่วยควบคุมชิ้นงานก็ได้ แต่การใช้อุปกรณ์นำตัดจะช่วยให้ความหนาในการซอยให้สม่ำเสมอและตรึงชิ้นงานที่ขอบไม้ได้ดีกว่าการควบคุมชิ้นงานด้วยมือ อย่างไรก็ตาม ใบเลื่อยที่ใช้จะต้องคมและกว้างไม่น้อยกว่า1/2นิ้ว (13มิลลิเมตร) แต่จะต้องบางกว่าใบเลื่อยวงเดือนที่ใช้ซอยนำมาก่อนหน้านี้เพื่อลดปริมาณในการสูญเสียเนื้อไม้

 

 

 

 

 

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Free Web Hosting