เครื่องเลื่อยฉลุ เป็นเครื่องเลื่อยที่มีใบเลื่อยแคบๆ  ยึดติดกับโครงเลื่อย ใบเลื่อยจะทำการตัดด้วยการเคลื่อนที่ขึ้น - ลง ใช้ในการตัดส่วนโค้งทั้งด้านในและด้านนอกส่วนที่เป็นวงกลมของแผ่นไม้หรือใช้ในการฉลุไม้ให้เป็นลวดลายหรือรูปร่างต่างๆ ได้ตามความต้องการนอกจากนั้นยังสามารถนำไปใช้กับงานตัดส่วนโค้ง – เว้าส่วนที่เป็นวงกลม และฉลุลวดลายแผ่นพลาสติกและโลหะแผ่นบางชนิดอื่นๆ ได้อีกด้วย เครื่องเลื่อยชนิดนี้สามรถตัดได้หนาสุด 2 นิ้ว (50มิลลิเมตร)แต่ส่วนใหญ่จะใช้ตัดบางกว่านั้น

หก

 

 

เครื่องเลื่อยฉลุมีหลายแบบหลายขนาด แบบที่นิยมใช้กับงานไม้โดยทั่วไปที่ราคาถูกที่สุดคือ แบบสั่นสะเทือน
เครื่องเลื่อยแบบนี้ใช้ใบเลื่อยแบบเดียวกันกับที่ใช้กับเลื่อยฉลุแบบใช้มือ ใบเลื่อยแบบนี้จะมีหมุดเล็กๆ ที่ปลายทั้ง 2 ข้าง
ใช้ตัดเฉพาะไม้และพลาสติกแผ่นบางเท่านั้น แบบเขย่าจะมีมอเตอร์และส่วนประกอบทั้งหมดที่ใช้ในการเขย่า
อยู่ภายไต้เครื่องเลื่อย เครื่องเลื่อยแบบนี้จะตัดได้เรียบและสม่ำเสมอ นอกจากนั้นยังสามารถลดความสั่นสะเทือน
และสาเหตุที่จะทำไห้ใบเลื่อยหักลงได้ เป็นเครื่องเลื่อยที่ดีที่สุดสำหรับงานส่วนใหญ่ แบบขับด้วยสายพาน
ความเร็วในการทำงานของเครื่องเลื่อยจะถูกควบคุมโดยสายพานและพูเล่ห์ เครื่องเลื่อยแบบนี้ใบเลื่อยจะไม่มีหมุด
เหมือนเครื่องเลื่อยฉลุขนาดเล็ก การติดตั้งใบเลื่อยจะต้องติดตั้งเข้ากับหัวจับใบเลื่อยตัวบนกับตัวล่าง
ในบทนี้จะกล่าวถึงเครื่องเลื่อยฉลุแบบสายพานเป็นหลัก
ขนาดของเครื่องเลื่อย จะกำหนดจากระยะระหว่างใบเลื่อยถึงโครงเลื่อยด้านในตัวอย่างเช่นเครื่องเลื่อยขนาด 15 นิ้ว
จะสามารถเลื่อยเข้าสู่ศูนย์กลางของวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 นิ้วได้เป็นต้น
ขนาดที่นิยมกันโดยทั่วไปใช้ในสถานศึกษาได้แก่ขนาด 18 และ 24 นิ้ว ซึ่งในขนาด 24 นิ้ว
จะสามารถตัดวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางสูงสุดได้ถึง 48 นิ้ว สำหรับงานเบาๆจะนิยมใช้ขนาด 12 นิ้ว
ความเร็วในการตัดจะกำหนดจังหวะใบการตัดของใบเลื่อยต่อนาทีโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 600 ถึง 1750 จังหวะการตัดต่อนาที
ความเร็วในการตัดนี้สามารถปรับได้ด้วยวิธีย้ายสายพานจากพลูเล่ย์คู่หนึ่งไปยังพลูเล่ย์อีกคู่หนึ่ง
ขณะความเร็วสูงจะใช้ตัดวัสดุที่อ่อนความเร็วต่ำจะใช้ตัดวัสดุแข็ง ความเร็วในการตัดเสนอแนะในสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป

 

 

 

มอเตอร์


มอเตอร์ (motor)เป็นส่วนที่ใช้ขับให้ใบเลื่อยทำงานกำลังของมอเตอร์จะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องเลื่อย โดยทั่วไปที่นิยมใช้จะเป็นแบบที่สามารถเปลี่ยนแปลงความเร็วได้ 3 ถึง 4 ระดับสายพานที่ใช้ในการขับจะเป็นสายพานรูปตัววี

พลูเล่ห์

พลูเล่ห์ (pulley)มี 2ตัว ตัวหนึ่งติดอยู่ที่ตัวมอเตอร์ อีกตัวติดตั้งอยู่ที่เครื่องเลื่อยทำหน้าที่รับ – ส่งกำลังโดยการถ่ายทอดทางสายพานรูปตัววี พลูเล่ห์แต่ละตัวจะมีลักษณะเป็นรูปทรงกรวยมีร่องจำรวน 4 ร่องเพื่อให้สามารถเปลี่ยนแปลงความเร็วในการตัดได้อย่างเหมาะสม
แท่นเลื่อย
แท่นเลื่อย (table)ลักษณะจะคล้ายกับเครื่องเลื่อยของเลื่อยสายพานแต่เป็นแบบแท่นเดี่ยวเป็นส่วนที่ใช้รองรับชิ้นงานในการตัดหรือฉลุ แท่นนี้สามารถปรับเอียงไปทางซ้ายหรือขวาได้ถึง 45 องศาที่ศูนย์กลางแท่นจะมีช่องสำหรับติดตั้งใบเลื่อย ที่ช่องนี้จะมีแผ่นสอดแท่นเลื่อยที่ใช้ปิดหลังติดตั้งใบเลื่อยเสร็จเรียบร้อยแล้ว นอกจากนั้น แท่นเลื่อยของเครื่องเลื่อยชนิดนี้ก็ยังสามารถหมุนได้เพื่อให้มีช่อว่างสำหรับการทำงานกับชิ้นงานขนาดใหญ่

 

แผ่นสอดแท่นเลื่อย


แผ่นสอดแท่นเลื่อย (table insert)เป็นโลหะที่สามารถถอดหรือใส่เข้าออกจากแท่นเลื่อยได้โดยสามารถถอดออกเพื่อการติดตั้งใบเลื่อย และใส่กลับเข้าไปหลังการติดตั้งใบเลื่อยเสร็จเรียบร้อยแล้ว แผ่นสอดแท่นเลื่อยนี้ยังช่วยป้องกันมิให้เศษวัสดุจากการเลื่อยตกลงสู่ไต้แท่นเลื่อยอีกด้วย
แขนเครื่องเลื่อย
แขนเครื่องเลื่อย(overarm) จะเป็นรูปโค้งเข้าสู่ศูนย์กลางของแท่นเลื่อย และติดตั้งเข้าฐานของเครื่องเลื่อย ที่ปลายของแท่นเลื่อยจะเป็นที่ติดตั้งหัวจับแท่นเลื่อยตัวบน เสานำใบเลื่อย ตัวนำใบเลื่อยและส่วนประกอบ ปลอกดึงใบเลื่อย และที่เป่าลม
หัวจับใบเลื่อย
หัวจับใบเลื่อย(chuck) มี2หัวคือ หัวจับตัวบนและหัวจับตัวล่าง หัวจับตัวบนจะติดตั้งอยู่กับปลอกดึงใบเลื่อย ทำหน้าที่จับปลายใบเลื่อยทางด้านบน หัวจับตัวล่างจะติดตั้งอยู่กับกลไกทางกลที่ต่อมาจากมอเตอร์ภายไต้แท่นเครื่อง ซึ่งจะทำให้ใบเลื่อยทำงานชักขึ้น ดึงลงได้ ทำหน้าที่จับใบเลื่อยทางด้านล่างเครื่องเลื่อยขนาดเล็ก เช่น เครื่องเลื่อยฉลุชนิดเขย่า จะใช้ก้านล็อกใบเลื่อย แทนหัวจับใบเลื่อย
เสานำใบเลื่อย
เสานำใบเลื่อย (guide post) เป็นที่ติดตั้งตัวนำใบเลื่อยและส่วนประกอบที่ใช้ในการควบคุมใบเลื่อยไม่ให้เกิดการบิดตัวขณะป้อนชิ้นงาน เสานี้สามารถปรับเลื่อนขึ้น ลงได้เพื่อให้เหมาะกับความหนาของชิ้นงาน

 

ตัวนำใบเลื่อยและส่วนประกอบ


ตัวนำใบเลื่อยและส่วนประกอบ(blade guild & assembly) เป็นตัวควบคุมใบเลื่อยไม่ให้บิดตัวขณะป้อนชิ้นงานเข้าสู่ใบเลื่อย ตัวนำใบเลื่อยและส่วนประกอบตัวบน จะติดตั้งเข้ากับทางด้านปลายของเสานำใบเลื่อย ใช้ทำหน้าที่รองรับใบเลื่อยส่วนที่อยู่บนแท่นเลื่อย ตัวนำใบเลื่อยและส่วนประกอบตัวล่างจะทำหน้าที่รองรับใบเลื่อยส่วนที่อยู่ไต้แท่นเลื่อย
ปลอกดึงใบเลื่อย
ปลอกดึงใบเลื่อย (tension sleeve) มีลักษณะเป็นท่อกลมกลวง มีแท่งเหล็กประกอบอยู่ภายในปลายด้านหนึ่งของแท่งเหล็กจะเป็นที่ติดตั้งหัวจับตัวบน ปลายอีกด้านหนึ่งจะติดตั้งสปริงกันกระแทกสามารถปรับเลื่อนขึ้น ลงได้เพื่อปรับให้ใบเลื่อยมีความตึงที่เหมาะสม นอกจากนั้น ยังทำให้สามารถเลือกใช้ใบเลื่อยขนาดสั้น ยาวต่างกันได้ด้วย

ที่เป่าลม

ที่เป่าลม (blower) จะเป็นท่อพลาสติกใช้สำหรับเป่าผงขี้เลื่อยออกจากชิ้นงาน

ตัวกดชิ้นงาน

ตัวกดชิ้นงาน(hold down) จะทำหน้าที่ในการกดชิ้นงานให้แนบกับแท่นเลื่อยเพื่อป้องกันความเสียหายจากการเด้งขึ้นมาของชิ้นงานขณะปฏิบัติงาน

ฐานเครื่องเลื่อย

ฐานเครื่องเลื่อย (base) เป็นที่รองรับส่วนประกอบทั้งหมดของเครื่องเลื่อย

สวิตช์

สวิตช์ (switch) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปิด ปิดเพื่อควบคุมการทำงานของเลื่อยหรือมอเตอร์นอกจากนั้น ยังมีฝาครอบป้องกันอันตรายเพื่อป้องกันอันตรายจากการทำงานของเครื่องเลื่อยไม่ให้เกิดกับผู้ปฏิบัติงานมีเดือยแท่นเลื่อย (table trunnion) มีสเกลบอกความละเอียดของแท่นเลื่อยและเข็มชี้อีกด้วย

ใบเลื่อย

ใบเลื่อยจะทำจากโลหะผสม มีหลายแบบหลายขนาดให้เลือกใช้ได้ตามความต้องการ
มีทั้งแบบฟันหยาบและแบบฟันละเอียด ในการเลือกใช้ใบเลื่อยนอกจากจะต้องพิจรณาความหนาและความแข็งของชิ้นงานที่จะตัดแล้ว ความโค้งของชิ้นงานก็จะต้องนำมาพิจรณาอีกด้วย และที่สำคัญที่สุดก็คือให้เลือกใช้ใบเลื่อยที่กว้างที่สุดและฟันเลื่อยที่หยาบที่สุดที่สามารถตัดชิ้นงานได้ตามความต้องการใบเลื่อยที่เหมาะกับงานและความเร็วในการทำงาน
ใบเลื่อยที่บางและแคบจะเลื่อยตัดส่วนโค้งแคบๆ ได้ง่ายกว่าใบเลื่อยที่หนาและกว้างไม้เนื้อแข็งที่หนาควรใช้ใบเลื่อยแบบฟันละเอียด ในการติดตั้งใบเลื่อยจะต้องให้ปลายฟันชี้ลงทางด้านล้างเสมอ
ใบเลื่อยที่ใช้กับเครื่องเลื่อยเหล่านี้จะมีทั้งชนิดปลายแบบธรรมดา สำหรับหรับเครื่องเลื่อยขนาดใหญ่ แบบมีหมุดปลาย หรือแบบปลายงอ สำหรับเครื่องเลื่อยขนาดเล็ก ใบเลื่อยที่จะใช้มีขนาดยาว 3.5 หรือ 6 นิ้ว (75,125หรือ 150 มิลลิเมตร) โดยจะมีฟันเลื่อยตั้งแต่ 7 ถึง 20ฟันต่อนิ้ว  (7 ถึง  20 ฟันต่อ  25 มิลลิเมตร) ชิ้นงานยิ่งบางฟันเลื่อยที่ใช้ก็จะมีฟันจำนวนมาก ในการเลือกใช้ใบเลื่อยจะต้องแน่ใจได้ว่าฟันเลื่อยจำนวน 3 ฟัน จะสัมผัสกับชิ้นงานตลอดเวลาใบเลื่อยของช่วงเจียระไนเพรชพลอยสามารถนำมาใช้กับเครื่องเลื่อยชนิดนี้ในการตัดโลหะ ความกว้างของใบเลื่อยชนิดนี้ จะเริ่มตั้งแต่ละเอียดมากเช่น เบอร์ 6/10 กว้างประมาน 1/16 นิ้ว (2มิลลิเมตร) ถึงขนาดความกว้าง 3/16 นิ้ว (มิลลิเมตร)


 

เครื่องเลื่อยลุเป็นเครื่องจักรกลงานไม้ที่ใช้ง่ายที่สุด และมีความปลอดภัยต่อการใช้งานมากที่สุด  แต่ก็เป็นไปได้ที่ผู้ใช้อาจได้รับอัตรายได้ด้วยเช่นกันถ้าการปรับตั้งไม่๔กต้อง หรือขาดความระมัดระวัง
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน จึงควรดำเนินการคังต่อไปนี้

  1. การปรับตั้งเครื่องเลื่อยจะต้องทำการในขระที่เครื่องเลื่อยไม่ทำงานและใบเลื่อยหยุดาการเคลื่อนที่
    การถอดปลั๊กสายไฟออกขณะทำงานการปรับเครื่องเลื่อยจะช่วยให้มีความปลอดภัยสูง
  2. ฝาครอบป้องกันอันตรายจะต้องอยู่ในที่เสมอ
  3. เลือกใช้ใบเลื่อยให้ถูกกับประเภทของงาน
  4. ติดตตั้งใบเลื่อยให้เข้ากับหัวจับอย่างถูกต้องแล้วล็อกให้แน่น ฟันเลื่อยจะต้องชี้ลงทางด้านล่างเสมอ
  5. ปรับความดึงของใบเลื่อยให้ได้ตามกำหนด
  6. ปรับความเร็วของใบเลื่อยให้ได้ตวามกำหนด
  7. ตัวกดชิ้นงานจะต้องกดชิ้นงานให้แนบกับแท่นเลื่อยด้วยแรงกดที่เหมาะสม
  8. ตัวนำใบเลื่อยตัวบนจะต้องอยู๋ในตำแหน่งที่เหมาะสมเหนือชิ้นงานเสมอ
  9. ตวรจสอบชิ้นงานที่จะตัดด้วยความระมัดระวังก่อนทำการเลื่อย
  10. วางแผนการทำงานก่อนที่จะทำการเลื่อยเสมอ
  11. การเลื่อยจะต้องเลื่อยนอกเส้นของแบที่ร่างไว้ด้านที่จะตัดทิ้งเสมอเพื่อการตกแต่งในภายหลัง
  12. ต้องปล่อยเครื่องเดินเต็มความเร็วเสียก่อนก่อนทุกก่อนเริ่มทำการเลื่อย
  13. การป้อนชิ้นงานเข้าตัดจะต้องกดชิ้นงานให้แน่นกับแท่นด้วยแรงกดที่เหมาะสม
  14. ขณะทำการเลื่อยจะต้องให้มือและนิ้วมือห่างออกมาจากแนวการตัดของใบเลื่อยเสมอ
  15. การเลื่อยส่วนโค้งแคบๆห้ามดันชิ้นงานเข้าสู่ใบเรื่อย แต่ให้ค่อยๆหมุนชิ้นงานจนกว่าส่วนโค้งนั้นจะถูกเลื่อยออกไป
  16. ขจัดเศษไม้และเศษผงจาการตัดออกจากแท่นเลื่อยอย่างสม่ำเสมอ
  17. การถอยชิ้นงานออกจากเครื่องให้ปิดสวตซ์เครื่องเสียก่อน
  18. หลังเสร็จงานและปิดสวิตซ์เครื่องเลื่อยแล้วให้รอจนกว่าใบเลื่อยจะหยุดการเคลื่อนที่แล้วจึงค่อยออกจากตัวเครื่อง

 

การติดตั้งใบเลื่อยในเครื่องเลื่อยฉลุชนิดขับด้วยสายพาน

  1. ถอดแผ่นสอดแท่นเลื่อยออกจากจากแท่นเลื่อย
  2. คลายลูกบิดที่ใช้สำหรับล็อกแท่นเลื่อยออกแล้วดึงทางด้านขวาของแท่นเลื่อย หมุนสายพานจนกระทั่งหัวจับใบเลื่อยตัวล่างขึ้นไปอยู่ที่จุดสุงสุด
  3. คลายหัวจับใบเลื่อยตัวล่างออก (อาจใช้ สกรู หรือ ประแจ ในการช่วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบ)
  4. ติดตั้งใบเลื่อยขนาดที่ถูกต้องเข้ากับหัวจับใบเลื่อยตัวล่างโดยให้ปลายของฟันเลื่อยชี้ลงทางด้านล่างแล้วล็อกให้แน่น
  5. คลายสกรูที่ล็อกปลอกดึงใบเลื่อยออกแล้วดึงให้ต่ำลง
  6. ติดตั้งปลายอีกด้านหนึ่งของเลื่อยเข้ากับหัวจับใบเลื่อยตัวบน
  7. ยกปลอกดึงใบเลื่อยให้สูงขั้นไปประมาณ 1 นิ้ว ( 25 มิลลิเมตร ) เพื่อให้ได้ความตึงที่ถุกต้องจากนั้นขันสกรูล็อกให้แน่น
  8. ปรับระยะห่างระหว่างตัวนำใบเลื่อยกับใบเลื่อยให้มีระยะที่ถูกต้อง และให้ลูกกลิ้งสัมผัสเข้ากับทางด้านหลังของใบเลื่อยเบาๆ
  9. ใส่แผ่นสอดแท่นเลื่อยเข้าที่กรือเปลี่ยนตามความเหมาะสม ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของใบเลื่อย
  10. ปรับขนาดแท่นเลื่อยให้ได้ตามต้องการแล้วล็อกให้แน่น
  11. วางชิ้นงานลงบนแท่นเลื่อย
  12. ทดลองหมุนเครื่องเลื่อยด้วยมือเพื่อทดสอบดูว่าเครื่องเลื่อยสามารถทำงานได้อย่างอิสระหรือไ
  13. ปรับความเร็วเครื่องเลื่อยตามที่ต้องการ
  14. เปิดสวิตซ์เครื่องเลื่อยและเริ่มทำงาน

การติดตั้งใบเลื่อยในเครื่องเลื่อยฉลุชนิดเขย่า

  1. เลือกใบเลื่อยที่มรขนาดความกว้างและความยาวที่ถูกต้อง ( ขนาดยาว 3นิ้ว0 ) แบบมีหมุดที่ปลาย
  2. ปลดก้านล็อกใบเลื่อย
  3. ติดตั้งใบเลื่อยเข้าไปโดยให้ปลายฟันชี้ลงทางด้านล้าง
  4. เลื่อยปลายทางด้านล่างของใบเลื่อยเข้าสู่ช่องเปิดรูปตัววี
  5. ดึงปลายทางด้านบนของที่จับใบเลื่อยลง และเลื่อนปลายอีกด้านหนึ่งของใบเลื่อยเข้าสู่ช่องเปิดรูปตัววี
  6. ขันก้านล็อกใบเลื่อยให้แน่น
  7. สำหรับการเลื่อยระยะที่ยาวๆควรใส่ใบเลื่อยให้ฟันเลื่อยหันออกทางด้านข้าง
  8. เปิดสวิตซ์และเริ่มทำงาน

 

  1. ให้ยืนหรือนั่งตรงด้านหน้างของเครื่องเลื่อย เพื่อให้สามารถควบคุมการป้อนงานด้วยมือทั้ง 2 ข้างได้โดยสะดวก
  2. ป้อนงานด้วยแรงกดของนิ้วหัวแม่มือและควบคุมงานด้วยนิ้วที่เหลือ
  3. เริ่มเลื่อยจากส่วนที่ไม่ใช้งานเข้าสู่ส่วนที่ได้ใช้งานตามแบบที่ร่างไว้
  4. ควบคุมการเลื่อยอย่างระมัดระวัง
  5. กราเลื่อนที่มุมแคบๆควรหมุนป้อนงานช้าไม่ควรดันชิ้นงานมากเกินไป
  6. สำหรับการตัดทางด้านใน ขั้นแรกให้เจาะรูในชิ้นส่วนที่ไม่ต้องการเก้บไว้เสียก่อน รูที่เจาะจะต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะสอดใบเลื่อยได้
  7. สำหรับการเลื่อยเป็นมุม สามารถทำได้ด้วยการเอียงแท่นเลื่อย ซึ่งโดยทั่วไปแท่นเลื่อยในเครื่องเลื่อยฉลุหลายๆแบบสามารถที่จะเอียงมุมได้ถึง 45 องศา

ร่างหรือถ่ายแบบลงบนชิ้นงาน กรณีแบบที่จะตัดเป็นแบบเดียวกัน ให้ยึดชิ้นงานเข้าด้วยกันด้วยตะปูบริเวณที่จะตัดทิ้งจะได้ตัดชิ้นงานไปในคราวเดียวกัน

  1. ตรวจความเรียบร้อยในการติดตั้งใบเลื่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบเลื่อยจะต้องล็อกแน่นเข้ากับหัวจับทั้งทางดานบนและด้านล่าง
  2. วางชิ้นงานลงบนแท่นเลื่อยให้นาวการตัดที่ร่างชนกับใบเลื่อย
  3. เปิดสวิตซ์เครื่องเลื่อย และเมื่อเครื่องเลื่อยเดินเต็มความเร็วแล้ว ป้อนชิ้นงานเข้าสู่ใบเลื่อยช้าๆด้วยความเร้วที่สม่ำเสมอและมั่งคง
  4. ตัดต่อไปจนเสร็จแล้วจึงปิดสวิตซ์เครื่องเลื่อย

 


ร่างหรือถ่ายแบบลงบนชิ้นงาน กรณีแบบที่จะตัดเป็นแบบเดียวกัน ให้ยึดชิ้นงานเข้าด้วยกันด้วยตะปูบริเวณที่จะตัดทิ้งจะได้ตัดชิ้นงานไปในคราวเดียวกัน

  1. เจาะรูสำหรับสอดใบเลื่อยที่ชิ้นงานในส่วนที่จะตัดทิ้ง รูที่เจาะจะต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะสอดใบเลื่อยได้
  2. คลายหัวจับใบเลื่อยตัวบนออกแล้วถอดใบเลื่อยออกจากหัวจับ
  3. ยกปลอกดึงใบเลื่อยขึ้นให้พ้นจากปลายของใบเลื่อย
  4. คลายและยกตัวนำใบเลื่อยตัวบนและส่วนประกอบขึ้น
  5. หมุนเครื่องด้วยมือให้หัวจับตัวล่างเลื่อนลงมาในตำแหน่งตำสุด
  6. ติดตั้งชิ้นงานเช้าไปในเครื่องเลื่อยโดยให้ใบเลื่อยสอดเข้าไปที่รูที่เจาะ
  7. วางชิ้นงานลงบนแท่นเลื่อยให้แนวการตัดที่ร่างไว้ชนกับใบเลื่อย
  8. เปิดสวิตซ์เครื่องเลื่อย และเมื่อเครื่องเลื่อยเดินเต็มความเร็วแล้ว ป้อนชิ้นงานเข้าสู่ใบเลื่อยช้าๆด้วยความเร้วที่สม่ำเสมอและมั่งคง
  9. ตัดต่อไปจนเสร็จแล้วจึงปิดสวิตซ์เครื่องเลื่อย

การตัดตรงควบคุมด้วยมือ สามารถที่จะทำได้ง่ายด้วยเครื่องเลื่อยฉลุ กรณนี้จะต้องติดตั้งใบเลื่อยให้ฟันเลื่อยหันออกทางด้านข้าง
เพื่อไม่ให้ชิ้นงานติดกับแขนเครื่องเลื่อย ขณะทำงานเพราะจะทำให้ทำงานยากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าชิ้นงานยาวมากกรณีนี้
จะต้องปรับทิศทางของหัวจับให้มาอยู่ในตำแหน่งนี้ด้วยเช่นกันอย่างไรก็ตามการตัดตรงสามารถที่จะใช้รั้วซอย
ของเครื่องเลื่อยสายพานมาปรับใช้กับเครื่องเลื่อยฉลุได้ด้วยเช่นกัน

การตัดฝังประดับ (marquetry) เป็นการตัดภาพหรือแบบเพื่อฝังลงบนชิ้นงานเพื่อการตกแต่ง ส่วนใหญ่จะใช้กับการตกแต่งที่กั้นหนังสืออ
ถาดแบบต่างๆ พื้นโต้ะกาแฟ หรือกล่องไม้ขนาดเล็กๆ เป็นต้น แผ่นไม้ที่จะนำมาตัดเป็นภาพหรือแบบที่ใช้ฝังลงไปในชิ้นงาน
ควรเป็นคนละเฉดสและทิศทางของเสี้ยนไม้แตกต่างกัน เพื่อให้เกิดความโดดเด่นอย่างชัดเจนเมื่อฝังประกอบเข้าด้วยกัน
ในการตัดก็จะต้องตัดไปพร้อมกัน เพื่อที่ชิ้นงานที่ตัดสามารถฝังลงไปในชิ้นงานที่ตัดอีกชิ้นหนึ่งได้อย่างแนบสนิท

  1. เลือกรูภาพหรือแบบที่จะนำมาฝังลงบนชิ้นงานตามความต้องการ
  2. ถ่ายหรือร่างแบบลงบนชิ้นงาน
  3. ตัดไปตามแบบที่ร่างก็จะได้ชิ้นงานออกมา
  4. นำชิ้นงานที่ได้จากการตัดไปฝังลงในชิ้นงานหลัก
  5. ขัดทีความสะอาดพื้นผิวแล้วเคลือบด้วยวัสดุเคลือบผิวตามต้องการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Free Web Hosting