เครื่องเลื่อยรัศมี (radial arm saw) เป็นเครื่องจักกลงานไม้ที่มีความคล่องตัวสูงมาก สามารถใช้ในการซอย การเซาะร่องขวางเสี้ยนไม้ และงานตัดในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย อาทิ งานตัดฉาก ตัดเข้าขนาดตัดมุม ตัดร่อง และตัดบังใบ เป็นต้น งานเหล่านี้สามารถทำได้อย่างง่ายดายด้วยเครื่องจักกลงานไม้ขนาดนี้มากกว่าเครื่องจักรกลไม้ชนิดอื่น ตัวอย่างเช่น กรณีที่ต้องตัดไม้ให้ยาวเท่าๆกันจำนวนมาก ก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย เพราะแผ่นไม้จะยังคงอยู่กับบนโต๊ะเลื่อยขณะที่เครื่องเลื่อยจะถูกดึงเข้าสู้แผ่นไม้เพื่อทำการตัด ข้อดีอีกประการหนึ่งของเครื่องเลื่อยชนิดนี้คือ ใบเลื่อยจะอยู่ห่างทางด้านบนของชิ้นงานเสมอ ดังนั้น ในการเซาะร่องไม้ไม่ว่าจะขาวงเสี้ยนหรือตามเสี้ยนก็ตามและการหยุดตัดก็ตามจะอยู่ในสายตาของผู้ปฏิบัติงานเสมอ จึงทำการตัด การซอย และการเซาะร่องมีความแม่นยำ

 

 

ขนาดของเครื่องเลื่อยรัศมี จะกำหนดจากขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโตสุดของใบเลื่อยที่สามารถใช้กับเครื่องเลื่อย ขนาดของเครื่องเลื่อยชนิดนี้มีหลายขนาด  แต่นิยมใช้กันโดยทั่วไปจะมีขนาดตั้งแต่ 10 ถึง 16 นิ้ว (250 ถึง 400 มิลลิเมตร) ขนาดที่เกินกว่านี้นิยมใช้ในอุตสาหกรรมทำเครื่องเรือน

 

 

 

    1. โครงสร้างฐานเครื่อง

โครงหรือฐานเครื่อง (frame or base) ลักษณะเป็นโครงเหล็ก ใช้เป็นที่รองรับส่วนประกอบทั้งหมดของ เครื่องเลื่อย อาทิ เสาเครื่องเลื่อย โต๊ะเลื่อย แขนเครื่องเลื่อย มอเตอร์และส่วนประกอบ และอื่นๆ

    1. โต๊ะเลื่อย

โต๊ะเลื่อย (table) ปกติจะทำจากแผ่นไม้อัดหนา ใช้ทำหน้าที่ในการรองรับชิ้นงาน

    1. โต๊ะเสริม

โต๊ะเสริม (extension dropleaf) ทำด้วยไม้ที่มีความหนาเท่ากับโต๊ะเลื่อย เพื่อให้พื้นโต๊ะเรียบเสมอกัน เป็นแบบพับได้เมื่อไม่ต้องการใช้งานก็พับลง เมื่อต้องการใช้งานก็ยกขึ้นซึ่งจะมีที่ค้ำยันให้เกิดความแข็งแรงใช้เมื่อต้องการตัดไม้หน้ากว้างมากๆ

    1. รั้วนำ

รั้วนำ (guibe fence) เป็นส่วนที่ใช้บังคับชิ้นงานที่ตัด รั้วนี้สามารถปรับเลื่อนไป-มาบนโต๊ะเลื่อยและยึดให้อยู่ในตำแหน่งใดๆ ก็ได้

    1. ลูกบิดปรับรั้ว

ลูกบิดปรับรั้ว (frontguibe fence control) เป็นส่วนที่ใช้ในการปรับรั้วให้เลื่อนมาข้างหน้า หรือถอยไปข้างหลัง

    1. เสาเครื่องเลื่อย

เสาเครื่องเลื่อย (column) ลักษณะเป็นท่อเหล็กกลวง ใช้เป็นที่สำหรับติดตั้งแขนเครื่อง
เลื่อย ใช้ทำหน้าที่ในการยกแขนเครื่องเลื่อยขึ้น-ลงและล็อกให้อยู่ในตำแหน่งใดๆ ก็ได้ตามต้องการ

    1. มือหมุนปรับระดับ

มือหมุนปรับระดับ (elevating handwheel) เป็นส่วนที่ใช้ในการปรับเลื่อนแท่นเครื่องขึ้น-ลง เพื่อยกใบเลื่อยขึ้นหรือลงตามความต้องการในการใช้งาน

    1. แขนเครื่องเลื่อย

เครื่องเลื่อยรัศมีในปัจจุบันมีทั้งแบบแขนเดียวและแบบแขนสองชั้นแบบแขนชั้นเดียว แขนเครื่องเลื่อย (over arm) แบบนี้ปลายด้านหนึ่งจะยึดติดกับเสาเครื่องเลื่อยขณะที่ปลายอีกด้านหนึ่งจะยื่นออกมาเหนือโต๊ะเลื่อย ทำหน้าที่เป็นราวเลื่อนให้สาแหรกซึ่งเป็นที่ติดตั้งมอเตอร์และส่วนประกอบสามารถเลื่อนไป-มาตามความต้องการในขณะทำงาน แขนเครื่องเลื่อยแบบนี้สามารถหมุนปรับมุมตามแนวนอนได้ แบบแขนสองชั้น แขนเครื่องเลื่อยชั้นล่าง (arm track) จะยึดติดกับแขนชั้นบนอีกทีหนึ่ง แขนชั้นนี้นอกจากเป็นราวเลื่อนให้กับสาแหรกเลื่อนไป-มาได้แล้วยังสามารถหมุนปรับมุมได้อีกด้วย

    1. ก้านล็อกแขนเครื่องเลื่อย

ก้านล็อกแขนเครื่องเลื่อย (track locking lever) จะทำหน้าที่ล็อกราวแขนเครื่องเลื่อยชั้นล่างให้แน่น

    1. สาแหรก

สาแหรก (yoke) เป็นที่สำหรับติดตั้งมอเตอร์และส่วนประกอบ สาแหรกจะติดตั้งอยู่กับแขนเครื่องเลื่อยในลักษณะที่สามารถเลื่อนไป-มาได้ สาแหรกสามารถหมุนปรับตามแนวนอนได้ จึงทำให้มอเตอร์และส่วนประกอบสามารถหมุนปรับมุมได้ด้วยเช่นกัน

    1.  หมุดกำหนดตำแหน่งสาแหรก

               หมุดกำหนดตำแหน่งสาแหรก (yokelocking pin or micro-set stop) เป็นหมุดที่ใช้ในการกำหนดตำแหน่งของสาแหรก ซึ่งจะกำหนดเป็นองศา

    1. หมุดล็อกตำแหน่งสาแหรก

หมุดล็อกตำแหน่งสาแหรก (yokelocking pin or qiick-set stop)เป็นหมุดที่ใช้ในการล็อกสาแหรกหลังกำหนดตำแหน่งแล้ว

    1.  ที่ยึดสาแหรก

ที่ยึดสาแหรก (yoke clamp handle) ใช้ทำหน้าที่ในการยึดสาแหรกหลังการกำหนดตำแหน่งและใส่หมุดล็อกตำแหน่งของสาแหรกแล้ว

    1.  มอเตอร์

มอเตอร์ (motor) เป็นส่วนที่ใช้ขับใบเลื่อยมห้หมุนตัดชิ้นงาน มอเตอร์จะได้รับการติดตั้งเข้ากับสาแหรกจึงทำให้สามารถเบื่อนไป-มาได้ และสามารถปรับมุมได้ตามการปรับมุมของสาแหรก นอกจากนั้น
ตัวมอเตอร์เองยังสามารถหมุนปรับมุมตามแนวตั้งได้อีกด้วย มอเตอร์เป็นที่สำหรับติดตั้งใบเลื่อยที่ใช้ตัดชิ้นงาน

    1.  สวิตช์

สวิตช์ (switch) สำหรับใช้เปิด-ปิดเพื่อควบคุมการทำงานของมอเตอร์ สวิตช์นี้อาจจะอยู่ที่โต๊ะเลื่อยหรืออยู่ที่ตัวมอเตอร์เลยก็ได้แล้วแต่การออกแบบ

    1.  ใบเลื่อย

ใบเลื่อย (saw blabe)เป็นส่วนที่ใช้ตัดชิ้นงาน ใบเลื่อยจะได้รับการติดตั้งเข้ากับแกนเพลาของมอเตอร์มีหลายแบบเพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับงานแต่ละประเภท ใบเลื่อยที่ใช้กับเครื่องเลื่อยรัศมีจะเหมือนกับใบเลื่อยที่ใช้กับเครื่องเลื่อยวงเดือนทุกประการ ดังนั้น รายละเอียดจะศึกษาได้จาดใบเลื่อยที่ใช้กับเครื่องเลื่อยวงเดือนในบทที่ 4

    1.  ฝาครอบป้องกันอันตราย

ฝาครอบป้องกันอันตราย (guard) เป็นฝาครอบที่ใช้ครอบใบเลื่อยเพื่อป้องกันอันตรายให้กับผู้ปฏิบัติงานที่อาจเกิดขึ้นขณะกำลังปฏิบัติงาน ฝาครอบนี้สามารถที่จะปรับให้สูง-ต่ำได้

 

    1.  นิ้วป้องกันการตีกลับ

นิ้วป้องกันการตีกลับ (anti-kickback finger) เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้ชิ้นงานเกิดการตีกลับในขณะทำงานซึ่งจะเป็นอันตรายกับผู้ปฏิบัติงานได้ อุปกรณ์ชิ้นนี้จะใช้สำหรับการซอยไม้หรืองานอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเท่านั้น

    1. ช่องส่งขี้เลื่อย

ช่องส่งขี้เลื่อย (sawdust spout) เป็นช่องทางให้ขี้เลื่อยที่เกิดจากการตัดพุ่งตัวเข้าสู่ถุงเก็บ

    1.  มือจับสาแหรก

มือจับสาแหรก (yoke handle) เป็นที่สำหรับดึงสาแหรกที่ติดตั้งมอเตอร์และส่วนประกอบ อันได้แก่ ใบเลื่อยเข้าตัดชิ้นงาน และดันส่วนประกอบทั้งหมดกลับมาที่เดิม
นอกจากนั้นยังมี สเกลซอยเข็มชี้สเกลซอย ที่ล็อกที่ล็อกการซอย สเกลเผล้มุม หมุดกำหนดตำแหน่งการเผล้ของมุม ที่ยึดตัวเผล้มุม สเกลตัดปากกบ เข็มชี้สเกลตัดปากกบ ที่ยึดตัวปรับมึมตัดปากกบ และกลอนล็อกมุมตัดปากกบ อีกด้วย จึงทำให้เครื่องเลื่อยชนิดนี้สามารถทำงานได้อย่างหลากหลายและมีความเที่ยงตรงสูง

 

 


 

กฎแห่งความปลอดภัยในการใช้เครื่องเลื่อยรัศมี มีดังนี้

  1. รักษาฝาครอบป้องกันอันตรายและนิ้วป้องกันการตีกลับของชิ้นงานให้อยู่ในที่เสมอ
  2. ต้องแน่ใจว่าที่จับยึดแบะที่ล็อกปรับเครื่องเลื่อยขันแน่นหลังปรับเครื่องเลื่อยแล้วทุกครั้ง
  3. ปรับนิ้วป้องกันการตีกลับของชิ้นงานให้สูงพ้นขึ้นมาจากชิ้นงานประมาณ (3 มิลลิเมตร) เมื่อตัดขาวงเสี้ยนไม้ อุปกรณ์ตัวนี้จะทำหน้าที่ป้องกันนิ้วมือของผู้ใช้เครื่องไม่ให้เข้าไปใกล้กับใบเลื่อยที่กำลังหมุนได้
  4. ต้องแน่ใจว่าชิ้นงานที่จะตัดหรือเลื่อยถูกจับแน่นกับรั้วนำ
  5. ดึงเครื่องเลื่อยเข้าสู้ชิ้นงานเสมอเมื่อต้องตัดขาวงเสี้ยนไม้ เซาะร่องขวางเสี้ยนไม้ หรืองานอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ห้ามดันเครื่องเลื่อยเข้าหาชิ้นงานโดยเด็ดขาด
  6. หลังการตัดแต่ละครั้งให้ดันเครื่องเลื่อยกลับสู้ตำแหน่งเดิมทุกครั้ง (ด้านเสาเครื่องเลื่อยหรือด้านหลังของโต๊ะเลื่อย)
  7. สำหรับการซอย ต้องแน่ใจว่าใบเลื่อยหมุนขึ้นสู่ตัวผู้ให้เครื่องเลื่อย ให้ใช้นิ้วป้องกันการตีกลับกดชิ้นงานเข้ากับพื้นโต๊ะอย่างมั่นคง เริ่มป้อนงานจากปลายด้านที่อยู่ตรงข้างกับนิ้วป้องกันการตีกลับเสมอ
  8. รักษามือให้ห่างจากแนวการเคลื่อนที่ของใบเลื่อยเสมอ ก็จะสามารถป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ปกติจะต้องให้ห่างไม่น้อยกว่า 6 นิ้ว (150 มิลลิเมตร)
  9. ต้องแน่ใจว่าได้ปิดเครื่องเลื่อยและใบเลื่อยหมุดหมุนดีแล้วก่อนการปรับตั้งใดๆ
  10. ใช้ใบเลื่อยหรือหัวเซาะร่องที่คมเสมอ
  11. ต้องปล่อยให้เครื่องเลื่อยเดิมเต็มความเร็วก่อนทุกครั้งก่อนเริ่มใช้งาน
  12. ก่อนเปิดเครื่องเลื่อย จับเครื่องเลื่อยให้แน่นทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันเครื่องเลื่อยพุ่งเข้าสู่ตัวผู้ใช้อาจทำให้เกิดอันตรายได้
  13. เครื่องเลื่อยชนิดนี้มีความโน้มเอียงที่จะเคลื่อนตัวเข้าสู่ชิ้นงานได้เอง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมอัตราการตัดด้วยการควบคุมการเคลื่อนตัวของเครื่องเลื่อยไว้ มิฉะนั้นก็จะทำให้เครื่องเลื่อยเคลื่อนตัวเข้าสู่ชิ้นงานเร็วเกินกว่าความสามารถในการตัด ซึ่งจะมีผลทำให้มอเตอร์ของเครื่องเลื่อยสั่นได้
  14. การทำความสะอาดโต๊ะเลื่อยให้ใช้แปรงปัดแทนการใช้มือก็จะสามารถที่จะหลีกเลี่ยงอันตรายจากใบเลื่อยของเครื่องเลื่อยได้
  15. หลังเสร็จงานและปิดสวิตช์เครื่องเลื่อยแล้ว ให้รอจนกว่าใบเลื่อยจะหยุดหมุนแล้วจึงค่อยออกจากตัวเครื่อง

ก่อนอื่นให้ถอดฝาครอบป้องกันอันตรายออกก่อนด้วยการถอดนอตหางปลาที่ทางด้านบนของตัวเรือนมอเตอร์ ยกใบเลื่อยให้สูงพ้นจากพื้นโต๊ะแล้วจึงถอดใบเลื่อยออกมา
ในการถอดนอตยึดใบเลื่อย ยึดแกนเพลามอเตอร์ให้อยู่กับที่ตัวประแจตัวหนึ่ง และคลายนอตยึดใบเลื่อยด้วยประแจอีกตัวหนึ่ง อย่าพยายามตรึงใบเลื่อยให้อยู่กับที่ด้วยแท่งไม้ขณะคลายนอตยึด เพราะอาจทำให้ใบเลื่อยหมุนไต่ไปบนแท่งไม้ดังกล่าว ซึ่งอาจจะทำให้ใบเลื่อยเกิดการบิดตัวทำให้เสียศูนย์ได
1.ฝาครอบป้องกันอันตรายจะยึดแน่นเข้ากับ
2.ในการถอดนอตยึดใบเลื่อยให้ใช้ประแจ 2 ตัว
3.ตัวเรื่อนมอเตอร์ด้วยน็อตหางปลา
4.ตัวหนึ่งยึดแกนเพลามอเตอร์ให้อยู่กับที่อีกตัวหนึ่งคลายนอตยึดใบเลื่อย
ใส่ใบเลื่อยใบใหม่เข้ากับเพลาโดยให้ปลายฟันที่อยู่ทางด้านล่างสุดชี้ออกจากตัวผู้ใช้เครื่องเลื่อยหรือชี้ไปทางเสาเครื่องเลื่อย ใส่ปลอกประกบใบเลื่อยกลับที่เดิมโดยให้ด้านข้างแอ่งชนเข้ากับใบเลื่อยใส่น็อตล็อกเข้าที่แล้วขันให้แน่น จากนั้นใส่ฝาครอบป้องกันอันตรายกลับเข้าที่ดังเดิมหลังการติดตั้งใบเลื่อยให้ใส่ฝาครอบป้องกันอันตรายกลับที่เดิมทุกครั้ง

ลำดับขั้นการตัดขวางเสี้ยนไม้ด้วยเครื่องเลื่อยรัศมีที่ถูกต้อง มีดังนี้

  1. ติดตั้งใบเลื่อยแบบตัดหรือแบบผสมเข้ากับแกนเพลาของมอเตอร์
  2. ปรับแขนเครื่องเลื่อยมาที่ตำแหน่ง 0 และปรับมอเตอร์เพื่อให้ใบเลื่อยมาอยู่ในตำแหน่งที่ตั้งฉากกับรั้วนำและตั้งได้ฉากกับพื้นโต๊ะ ล็อกแขนเครื่องเลื่อยด้วยที่ยึดตัวปรับมุมตัดปากกบ
  3. หมุนมือหมุนปรับระดับแขนเครื่องเลื่อยลงจนกระทั่งฟันของใบเลื่อยที่อยู่ต่ำสุดต่ำกว่าพื้นโต๊ะประมาณ (2 มิลลิเมตร) ขณะนี้ใบเลื่อยควรจะสามารถเคลื่อนตัวไปตามคลองเลื่อยที่ได้ตัดลงในพื้นโต๊ะแล้ว
  4. ปรับนิ้วป้องกันการตีกลับให้อยู่เหนือชิ้นงานประมาณ (3 มิลลิเมตร)
  5. ใช้มือข้างหนึ่งกดชิ้นงานให้แน่นกับพื้นโต๊ะและแนบกับรั้วนำ ให้แนวการตัดที่ร่างไว้ตรงกับแนวของใบเลื่อย
  6. จับที่มือจับของสาแหรกของมอเตอร์แล้วเปิดสวิตช์เครื่องเลื่อย รอจนเครื่องเลื่อยหมุนเต็มความเร็ว จากนั้นดึงเครื่องเลื่อยเข้าหาชิ้นงานช้าๆ อย่างมั่นคง
  7. เมื่อเสร็จแล้ว ดัวเครื่องเลื่อยกลับมาที่เดิมที่ด้านหลังของรั้วนำแล้วปิดสวิตช์

หมายเหตุ : การตัดไม้ยาวให้มีขนาดยาวเท่ากันจำนวนมาก ให้ใช้แท่งกำหนดระยะช่วยในการตัดด้วย การยึดแท่งกำหนดระยะเข้ากับรั้วนำให้สูงพ้นพื้นโต๊ะเล็กน้อย โดยให้ระยะระหว่างใบเลื่อยถึงแท่งกำหนดระยะเท่ากันหรือขนาดความยาวที่ตัดในการตัดขวางเสี้ยน แรงผลักจากใบเลื่อยการตัดขวางเสี้ยนจะพุ่งลงสู่ด้านล่างและด้านหลัง

การตัดปากกบแบบราบ
การตัดปากกบแบบราบ ให้คลายที่ยึดตัวปรับมุมตัดปากกบออก ดึงสลักหรือกลอนล็อกมุมตัดปากกบขึ้น เหวี่ยงแขนเครื่องเลื่อยไปที่มุมตามต้องการ ใส่สลักหรือกลอนล็อกมุมตัดปากกบในตำแหน่งใหม่แล้วยึดที่ยึดตัวปรับมุมตัดปากกบให้แน่น จากนั้นจึงทำการตัดตามวิธีการตัดขวางเสี้ยนไม้ การตัดปากกบแบบราบ สามารถที่จะทำได้โดยการยึดแน่นไม้ที่จะตัดเข้ากับพื้นโต๊ะที่มุมตามต้องการการตัดปากกบแบบราบจำเป็นจะต้องตัดปลายการตัดปากกบแบบราบชิ้นงานจะต้องแนบแน่นทางด้านขวา 1 ครั้ง และตัดปลายทางด้านซ้าย 1 ครั้งกับรั้วนำจากนั้นดึงเครื่องเลื่อยเข้าสู่ชิ้นงานช้าๆโดยไม่จำเป็นที่จะต้องเหวี่ยงแขนเครื่องเลื่อยไปทาง
แต่มั่นคงเหมือนกับดารตัดขวางเสี้ยนไม้ด้านใดด้านหนึ่งสำหรับการตัดแต่ละครั้ง
8.2. การตัดปากกบที่ขอบไม้หรือการเพล่มุม
การตัดปากกบที่ขอบไม้หรือการเพล่มุมให้คลายที่ยึดตังเผล้มุมออก ดึงหมุดกำหนดตำแหน่งการเพล่มุมออก เอียงมอเตอร์ไปที่มุมตามต้องการ ใส่หมุดกำหนดตำแหน่งการเพล่มุมในตำแหน่งใหม่แล้วยึดที่ยึดตัวเพล่มุมให้แน่น การทำในลักษณะนี้จะทำให้ใบเลื่อยสูงพ้นพื้นโต๊ะ จากนั้นจึงทำการตัดตามวิธีการขวางเสี้ยนไม้

 


    1. การซอยแบบธรรมดา

ลำดับขั้นการซอยแบบธรรมดาด้วยเครื่องเลื่อยรัศมีที่ถูกต้อง มีดังนี้

  1. ติดตั้งใบเลื่อยแบบซอยหรือแบบผสมเข้ากับแกนเพลาของมอเตอร์
  2. ปรับแขนเครื่องเลื่อยมาที่ตำแหน่ง 0  ดึงแคร่มอเตอร์ทั้งหมดมาทางด้านหน้าของแขนเครื่องเลื่อย คลายที่ยึดสาแหรกของมอเตอร์และดึงหมุดกำหนดสาแหรกออก หมุดสาแหรกตามเข็มนาฬิกาไป 90องศาขณะนี้ใบเลื่อยจะขนานกับรั้วนำ ใส่หมุดกำหนดตำแหน่งสาแหรกในตำแหน่งใหม่แล้วขันที่ยึดสาแหรกให้แน่นขณะที่มอเตอร์ควรจะหันออกมาทางด้านนอกห่างออกมาจากเสาเครื่องเลื่อย ซึ่งจะทำให้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานกรณีที่ผุ้ปฏิบัติงานอยู่ทางด้านขวา เมื่อซอยไม้หน้ากว้างก็จำเป็นที่จะต้องหมุนสาแหรกของมอเตอร์ทวนเข็มนาฬิกา ดังนั้น มอเตอร์จะหันไปทางด้านในที่เข้าสู่เสาเครื่องเลื่อย การทำในลักษณะนี้จะเพิ่มความสามารถในการซอยกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานอยู่ทางด้านซ้าย
  3. เลื่อนส่วนประกอบของมอเตอร์ไปตามแขนเครื่องเลื่อยจนกระทั่งได้ความกว้างที่ต้องการซึ่งแสดงโดยสเกลซอย ขันที่ล็อกการซอยให้แน่น ลดเครื่องเลื่อยลงจนกระทั่งใบเลื่อยสมผัสกับพื้นโต๊ะ
  4. ปรับฝาครอบป้องกันอันตรายให้พ้นจากชิ้นงานเล็กน้อยประมาณ (2 มิลลิเมตร) และปรับนิ้วป้องกันการตีกลับให้ด้านปลายต่ำกว่าชิ้นงานประมาณ (3 มิลลิเมตร) เพื่อให้มีแรงกดชิ้นงาน
  5. เปิดเครื่อง ต้องแน่ใจได้ว่าใบเลื่อยหมุนขึ้นสู่ตัวผู้ใช้เครื่อง จับชิ้นงานให้แน่นกับรั้วนำแล้วป้อนเข้าสู่ใบเลื่อย อย่าป้อนงานจากด้านปลายของนิ้วป้องกันการตีกลับ และให้ใช้ไม้ดันชิ้นงานเสมอเมื่อใกล้สิ้นสุดการซอยในการซอยต้องป้อนไม้เข้าสู่ใบเลื่อยเสมอใช้ไม้ดันชิ้นงานทุกครั้งเมื่อใกล้สิ้นสุดการซอย
    1. การซอยเป็นมุม

การซอยแบบเป็นมุม มอเตอร์จะอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับการซอยแบบธรรมดา จากนั้นให้ยกระดับของเครื่องเลื่อยขึ้น และเอียงมอเตอร์ไปที่มุมจากตำแหน่งแนวราบสู่แนวตั้งตามต้องการลดเครื่องเลื่อยลงจนกระทั่งฟันเลื่อยต่ำกว่าโต๊ะเลื่อย ประมาณ (2 มิลลิเมตร) แล้งจึงทำการซอยด้วยวิธีเดียวกันกับการซอยแบบธรรมดาการซอยเพล่มุมการเผล้มุมไม้เป็นรูปตัววีสามารถทำได้โดยการซอยพล่มุมตามระดับความลึก 2 ครั้ง

 

หัวเซาะร่องที่ใช้จะเป็นชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในเครื่องเลื่อยวงเดือน ก่อนนำมาใช้จะต้องแน่ใจว่ารูที่หัวเซาะร่องมีขนาดเดียวกันกับแกนเพลาของมอเตอร์ของเครื่องเลื่อย การติดตั้งหัวเซาะร่องเข้ากับเครื่องเลื่อยจะเหมือนกับการติดตั้งเข้ากับเครื่องเลื่อยวงเดือน จะต้องแน่ใจว่าฟันของหัวเซาะร่องที่ถัดจากโต๊ะเลื่อยชี้ไปทางด้านหลังเข้าสู่เสาเครื่องเลื่อยเหมือนกับการติดตั้งใบเลื่อย ติดตั้งฝาครอบป้องกันอันตรายที่ใช้สำหรับหัวเซาะร่องแทนอุปกรณ์ตัวเดิม จากนั้นหมุนหัวเซาะร่องด้วยเครื่องมือเพื่อให้แน่ใจวได้ว่าหัวเซาะร่องสามารถหมุนได้อย่างอิสระปราศจากการติดขัด

11.1ในการเซาะร่องขวางเสี้ยนไม้แบบธรรมดา
               ในการเซาะร่องขวางเสี้ยนไม้แบบธรรมดา หัวเซาะร่องจะตัดขวางกับเสี้ยนไม้ ติดตั้งหัวเซาะร่องและส่วนประกอบให้ได้ความกว้างของร่องที่จะเซาะตามต้องการ ทดลองเซาะโดยนำเศษไม้ที่หนาเท่ากับความหนาของไม้ที่จะเซาะมาวางบนโต๊ะ ลดหัวเซาะร่องจนกระทั่งสัมผัสกับผิวไม้ที่วาง นำเศษไม้ออกแล้วจึงทำการปรับระดับความลึกในการเซาะ เครื่องเลื่อยรัศมีส่วนใหญ่การหมุนมือหมุนปรับระดับ 1 รอบจะลดใบเลื่อยหรือหัวเซาะร่องได้ (3 มิลลิเมตร) ดังนั้น ถ้าต้องการความลึก (6 มิลลิเมตร) ก็จะต้องหมุนมือหมุนปรับระดับลง 2 รอบ ใช้เศษไม้ที่นำมาทดลองเซาะดูก่อนเพื่อตรวจสอบความลึกในการเซาะ เมื่อปรับระดับคงามลึกในการเซาะได้ที่แล้วจึงดำเนินการเซาะงานจริง การดำเนินกาะเซาะให้วิธีการเซาะแบบตัดขวางเสี้ยนไม้
                      11.2. การเซาะร่องขวางเสี้ยนไม้แบบปิดหัว-ท้าย
         การเซาะร่องขวางเสี้ยนไม้แบบปิดหัว-ท้าย เป็นการเซาะร่องเพียงบางส่วนในแผ่นไม้ ส่วนใหญ่จะเซาะที่ขอบไม้ การเซาะแบบนี้ด้านหัว-ท้ายของไม้ที่เซาะจะไม่ถูกเซาะ ในการเซาะให้ใช้ปากกาจับยึดเข้ากับแขนเครื่องเลื่อยเพื่อจำกัดการเคลื่อนของเครื่องเลื่อย และเพื่อให้แน่ใจได้ว่าร่องที่เซาะกับงานทุกชิ้นจะมีระยะการเซาะที่เท่ากัน เริ่มเซาะด้วยการยกเครื่องเลื่อยขึ้นโดยหมุนมือหมุนปรับระดับ ยึดชิ้นงานใหอยู่ในที่จัดหัวเซาะให้อยู่เหนือตำแหน่งที่จะเริ่มเซาะ เปิดเครื่องและลดหัวเซาะร่องลงด้วยการหมุนมือหมุนปรับระดับให้ได้ระดับความลึกตามต้องการ จากนั้นดึงเครื่องเลื่อยจนกระทั่งแคร่ของมอเตอร์ของเครื่องเลื่อยชนเข้ากับปากกาที่ใช้ยึดตัวหน้า ปิดเครื่อง ยกเครื่องเลื่อยขึ้นและดันกลับไปชนกับปากกาตัวหลังเพื่อพร้อมสำหรับการเซาะงานชิ้นต่อไป
การเซาะร่องแบบธรรมดา การเซาะร่องแบบปิดจะต้องใช้ปากกาจับงาน 2 ตัว ยึดเข้ากับแขนเครื่องเลื่อย
เพื่อจำกัดการเคลื่อนตัวของเครื่องเลื่อย

 

  1. การเซาะร่องตามเสี้ยนไม้

การเซาะร่องตามเสี้ยนไม้ด้วยหัวเซาะร่องนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการเซาะร่องไปตามของชิ้นงานตามความยาว ดังนั้น ในการปรับเครื่องเลื่อยจึงต้องปรับเหมือนการปรับเพื่อการซอย ในดารเซาะร่องตามเสี้ยนไม้ด้วยหัวเซาะร่องนั้น หลังติดตั้งหัวเซาะร่องเข้ากับเครื่องเลื่อยแล้ว ให้หมุนมอเตอร์ทั้งชุดทวนเข็มนาฬิกาเช่นเดียวกับที่ใช้กับการซอย ยึดที่ล็อกการซอยให้แน่นและปรับตั้งระดับความลึกในการเซาะ ดำเนินการเหมือนกับการซอย
เพื่อที่จะเซาะร่องตามเสี้ยนไม้ที่ขอบของชิ้นงาน ให้คลายที่ยึดสาแหรกออก ดึงหมุดกำหนดตำแหน่งสาแหรกขึ้น แล้วหมุนสาแหรกไป 90 องศาทวนเข็มนาฬิกา ใส่หมุดกำหนดตำแหน่งที่ตำแหน่งใหม่ แล้วขันที่ยึดสาแหรกให้แน่น ยกเครื่องเลื่อยขึ้นประมาณ (50 มิลลิเมตร) โดยการหมุนมือหมุนปรับระดับ จากนั้นคลายที่ยึดตัวเพลามุมและดึงหมุดกำหนดการเพลามุมขึ้น โยกมอเตอร์ไปอยู่ในแนวตั้ง ลดเครื่องเลื่อยลงให้ใบเลื่อยอยู่ในระดับความสูงที่ถูกต้องจากพื้นโต๊ะ ปรับสาแหรกให้ไปอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องและขันที่ล็อกการซอยให้แน่น จะต้องแน่ใจว่าหัวเซาะร่องหรือใบเลื่อยมีฝาครอบป้องกันอันตรายติดตั้งอยู่การเซาะร่องหรือรางด้วยหัวเซาะร่อง การเซาะร่องหรือรางไปตามเสี้ยนไม้ด้วยหัวเซาะร่องจะต้องปรับให้หัวเซาะร่องอยู่ในตำแหน่งที่ขนานไปกับพื้นโต๊ะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Free Web Hosting